top of page

English Below

ปีนภู...ขึ้นไปดูต้นน้ำแม่ลาว

เดินป่าไปหาต้นกำเนิดลุ่มน้ำแม่ลาวที่หล่อเลี้ยงผู้คนและผืนป่าใหญ่ในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

เรื่อง : ชลิต สภาภักดิ์
ภาพ : เขียนแสง

"คนกับผึ้งช่วยกันสร้างความยั่งยืนให้ผืนป่า"
ปรากฏการณ์ "การล่มสลายของผึ้ง" ในยุโรปและอเมริกาเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก เพราะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเกษตรกรรม ผึ้งมีบทบาทสำคัญในการผสมเกสรของพืชผลทางการเกษตร โดยสาเหตุมีด้วยกันหลายอย่างทั้งการถูกทำลายที่อยู่อาศัย สารเคมี ปรสิต และสภาพภูมิอากาศแปรปวน อย่างไรก็แล้วแต่ นั่นเป็นปัญหาที่จะกระทบต่อการผลิตอาหารของมนุษย์เราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หมู่บ้านชาวปกาเกอะญอแห่งหนึ่งในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างคนกับผึ้งป่าที่ช่วยกันสร้างป่าให้อุดมสมบูรณ์ ให้ความมั่นคงทางอาหาร รักษาสมดุลของระบบนิเวศ รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับชุมชน

บ้านห้วยหินลาดในตั้งอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ของอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งต้นน้ำแม่ลาว มีประชากรร้อยกว่าคน หมู่บ้านซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาล้อมรอบด้วยป่าเขียวขจี แม้ในฤดูร้อนก็ยังเย็นสบาย แต่สถานที่ที่งดงามเช่นนี้ก็ผ่านสถานการณ์เลวร้ายมามากมาย

ช่วงปี พ.ศ. 2529-2531 รัฐบาลให้สัมปทานป่าไม้ ป่าไม้ถูกทำลายอย่างหนัก สัตว์ป่าสูญสิ้นไปจากป่า ทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไปอย่างมาก แม้ในปี พ.ศ. 2532 รัฐจะประกาศยกเลิกสัมปทานและปิดป่า ชาวบ้านก็ยังต้องมาต่อสู้กับการจัดการลุ่มน้ำของรัฐอีก โดยให้ย้ายคนออกจากพื้นที่ต้นน้ำ ทำให้ชาวบ้านกลายเป็นผู้บุกรุกไปโดยปริยาย แต่กระนั้นพวกเขายังคงต่อสู้และทำทุกวิถีทางให้ทุกคนรู้ว่าวิถีการอยู่ร่วมกับป่าของพวกเขานั้นไม่ใช่การทำลายป่า


ผมเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขา มันถนนที่ใช้ขนไม้ในอดีต มองไกลออกไปคือภาพของภูเขาสลับซับซ้อน และผืนป่าเขียวขจีทอดยาวไกลสุดสายตา บนทางเดินแคบๆชายรูปร่างสูงโปร่งข้างหน้าผมคือพ่อหลวงชัยประเสริฐ โพคะ ผู้นำชุมชนปกาเกอะญอบ้านห้วยหินลาดใน เราเดินผ่านต้นไม้น้อยใหญ่ ผมสังเกตเห็นต้นหนึ่งที่ใหญ่กว่าต้นอื่น "ต้นนี้ชาวบ้านขอไว้ไม่ให้ตัด" พ่อหลวงเล่าให้เราฟังถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา


พ้นจากป่าทึบเราก็มาถึง "ไร่เหล่า" หรือไร่ซากที่ทิ้งไว้จากการทำข้าวไร่ ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่เรียกว่า "ไร่หมุนเวียน" (Rotational Farming) แตกต่างจากไร่เลื่อนลอยอย่างที่หลายคนรับรู้มา ไร่หมุนเวียนเป็นการทำเกษตรแบบโบราณที่ปราศจากสารเคมีและการพลิกหน้าดิน

"ผึ้งโพรง..คนสร้างรัง ผึ้งสร้างอาหาร"

ดอกสาบเสือกำลังร่วงโรย ใบหนาดเขียวขจี ไร่ข้าวเมื่อปีที่แล้วถูกห่มด้วยพืชพันธุ์นานาชนิด ตอไม้ที่ถูกเผาจนดำสนิทเมื่อปีที่แล้วบัดนี้แตกกิ่งก้านสูงท่วมหัว กองฟางผุกร่อนกำลังย่อยสลายเป็นปุ๋ยอย่างดี ต้นมะเขือ พริก ตะไคร้ และผักอื่นๆกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ กระท่อมไม้ไผ่มุงหลังคาด้วยใบค้อหลังเดิมที่ผมเคยจิบชาร้อนนั่งดูฝนเมื่อปีก่อนเก่าโทรมลงไป ในนั้นมีรังผึ้งที่พ่อหลวงเอามาตั้งไว้ รังผึ้งทำด้วยไม้ประกอบขึ้นเป็นกล่องสี่เหลี่ยมบ้าง หรือนำท่อนไม้มาเจาะให้เป็นโพรงบ้างแล้วปิดฝาหัวท้าย เจาะรูเล็กๆให้ผึ้งเข้าออกได้ ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมผึ้งจะสะสมน้ำหวานไว้เต็มรังไม้ และตัวอ่อนผึ้งก็ฟักเป็นตัวเกือบหมดแล้ว ชาวบ้านจะเก็บน้ำผึ้งในช่วงนี้ที่เรียกกันว่า "น้ำผึ้งเดือนห้า" นั่นเอง


มีข้อสังเกตว่ารังผึ้งที่ตั้งไว้ในไร่ซากที่ทิ้งไว้พักดินหลังจากเก็บเกี่ยว 1-2 ปีจะให้น้ำผึ้งในปริมาณที่มาก เนื่องจากมีไม้ล้มลุกและวัชพืชที่มีดอกขึ้นอยู่มาก ก่อนที่ไม้ใหญ่จะเติบโต
ในไร่หมุนเวียนที่ทิ้งไว้หนึ่งถึงสองปีจะเต็มไปด้วยพืชผักและวัชพืชที่มีดอกหลากหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งหาอาหารของผึ้ง พืชพรรณเหล่านี้ปราศจากสารเคมีทั้งยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงจึงไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง ทำให้ชาวบ้านได้น้ำผึ้งที่บริสุทธิ์


พ่อหลวงจัดแจ้งใส่ชุดป้องกันผึ้งที่ทำขึ้นเอง หมวกสานขึ้นด้วยหวาย เย็บด้วยผ้าหนาและผ้ามุ้ง ใส่ถุงมือยางแล้วค่อยๆใช้ขวานหัวค้อนงัดตะปูออก ผึ้งแตกรังบินหึ่งไปทั่วกระท่อมแต่ไม่ต่อยเรา พ่อหลวงจึงถอดหมวกออก ส่วนผมยืนดูอยู่ห่างๆ ก่อนได้รับสัญญาณจากพ่อหลวงว่า "ผึ้งรังนี้ไม่ดุ" ให้เข้าไปใกล้ๆได้ กลิ่นน้ำผึ้งหอมฟุ้ง พ่อหลวงค่อยๆบรรจงใช้มีดปาดรังผึ้งออกจากกล่องไม้ทีละแผ่นแล้วตัดเอาไปแต่น้ำหัว ทิ้งรังไว้ให้ตัวอ่อนฟักออกจากรัง ราวครึ่งชั่วโมงพอหลวงก็เก็บน้ำผึ้งเสร็จโดยทิ้งน้ำผึ้งไว้ส่วนหนึ่งเพื่อให้ผึ้งได้ใช้เลี้ยงตัวอ่อนและสร้างรังใหม่ต่อไป


น้ำผึ้งแต่ละรังมีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันไป ครั้งหนึ่งผมเคยได้กลิ่นหอมคล้ายใบเตย ยังสงสัยกันอยู่ว่าดอกไม้อะไรกลิ่นเหมือนใบเตย หรือแม้แต่น้ำผึ้งกลิ่นเหมือนยางรองเท้านันยางก็เคยเจอ บางรังรสอมเปรี้ยว บางรังขมก็มี เสน่ห์ของน้ำผึ้งป่าคงอยู่ตรงที่รสชาติและกลิ่นหลากหลายไปตามดอกไม้ที่ผึ้งไปหาน้ำหวานมา

"ผึ้งหลวง พญาผึ้งบนเรือนยอด"

ป่าวนเกษตรคือป่าที่ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งอาหารและผลผลิตอื่นของหมู่บ้าน ในป่าวนเกษตรนี้มีผลผลิตต่างๆให้เก็บตลอดทั้งปีตามฤดูกาล ป่าส่วนนี้จะไม่ถูกตัดถางแม้แต่น้อย ผมเดินลัดเลาะไปตามไหล่เขาแล้วดิ่งลงหุบสองข้างทางมีต้นไม้หนาแน่น ทั้งไม้ใหญ่สูงจนต้องแหงนคอตั้งบ่าและไม้ขนาดกลาง ใต้ต้นไม้เหล่านั้นมีต้นชาขึ้นแซมอยู่ทั่วไป


พรานผึ้งตอกทอยไม้ไผ่ขึ้นไปบนยอดไม้สูงราวสามสิบเมตรเพื่อเก็บน้ำผึ้งหลวง
ผมเดินตามพี่สุภวงศ์ ปะปะ หรือพี่วงศ์ไปจนถึงใต้ต้นไม้ใหญ่สูงราวสามสิบเมตร บนนั้นมีผึ้งหลวงรังใหญ่เกาะอยู่บนเรือนยอด พี่วงศ์เป็นพรานผึ้งหลวงหนึ่งในสามคนของหมู่บ้าน เนื่องจากผึ้งหลวงมักทำรังอยู่บนต้นไม้ใหญ่ที่สูงชัน บางต้นสูงร่วมสี่สิบเมตร และผึ้งหลวงดุกว่าผึ้งโพรง จึงมีไม่กี่คนที่สามารถขึ้นไปเอาน้ำหวานของผึ้งหลวงได้ คนที่ขึ้นผึ้งหลวงได้ต้องแข็งแรงและมีความชำนาญ อุปกรณ์ป้องกันต้องมิดชิด การตอก"ทอยไม้ไผ่" ขึ้นไปใช้พละกำลังมาก เมื่อโดนผึ้งโจมตีก็ต้องหาทางป้องกันให้ได้


ทอยไม้ไผ่ถูกตอกลงบนต้นไม้ใหญ่ดังสนั่นป่าทีละอันทีละก้าวร่วมสองชั่วโมง พี่วงศ์ก็ลงมาใส่ชุดป้องกันผึ้ง ก่อนจะปีนทอยกลับขึ้นไปพร้อมกับปีบและเถาวัลย์รางจืดที่จุดไฟเพื่อให้เกิดควัน ที่ต้องใช้รางจืดเพราะเมื่อสะเก็ดไฟหล่นลงมามันจะดับตั้งแต่กลางอากาศ ไม่หล่นลงมาถึงพื้นด้านล่างที่มีใบไม้แห้งทับถมอยู่ซึ่งจะทำให้ไฟไหม้ป่าได้ เมื่อขึ้นไปถึงรังผึ้งแล้ว พรานผึ้งจะใช้มีดปาดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำหวานเท่านั้นแล้วปล่อยรังผึ้งไว้ให้ตัวอ่อนฟักเพื่อขยายพันธุ์แล้วสร้างน้ำหวานขึ้นใหม่ โดยผึ้งหลวงส่วนใหญ่จะกินดอกไม้ยืนต้นที่อยู่สูง น้ำหวานของผึ้งหลวงหนึ่งรังจะอยู่ที่ราวๆ 10-15 กิโลกรัม พรานจะเอาน้ำหวานใส่ปีบแล้วค่อยๆหย่อนลงมาให้ผู้ช่วยที่รออยู่ด้านล่างคอยรับ


พรานผึ้งเตรียมชุดเพื่อขึ้นไปเก็บน้ำผึ้ง ชุดที่ใส่ต้องหนาพอที่ผึ้งจะต่อยไม่ถึงผิว

ผึ้งรุมต่อยพรานผึ้ง การเก็บน้ำผึ้งหลวงบางครั้งก็ไม่สำเร็จ เป็นงานยากที่ต้องอาศัยประสบการณ์
ผมกระหืดกระหอบอยู่บนเนินสูงที่ไม่รู้ทิศทางหลังจากวิ่งหนีผึ้งสี่ห้าตัวที่ไล่ตามมาจากรังสูงบนต้นไม้ในป่าวนเกษตร เมื่อคิดว่าปลอดภัยดีแล้วผมค่อยๆถอดหมวกปีกที่มีมุ้งคลุมอีกชั้นออก ถอดเสื้อคลุมออกมาแล้วค่อยๆถอนเหล็กในที่ผึ้งหลวงฝากไว้สี่ห้าอันออกจากเสื้อและหมวก นั่นก็ตื่นเต้นมากแล้ว แต่พอมาเห็นเหล็กในที่ฝังอยู่บนชุดของพรานที่ขึ้นไปเอาน้ำหวานผึ้งหลวงรังนั้น ที่ติดอยู่กับเสื้อผมก็ดูเล็กน้อยไปเลย เหล็กในนับร้อยอันปักเต็มชุดของพรานไปหมด



"คน ผึ้ง ป่า"

รู้กันดีว่าคนเราเลือกเกิดไม่ได้ บางคนเกิดมาใช้ที่ทำกินแค่หน้าจอสี่เหลี่ยมกับห้องเล็กๆ บางคนมีที่ทางเป็นร้อยเป็นพันไร่ บางคนเกิดมาในป่าบนภูเขาเช่นเดียวกันกับชาวปกาเกอะญอ ทุกคนล้วนต้องการที่ทำกินทั้งนั้น ชาวปกาเกอะญอมีที่ทำกินอยู่ในป่า บนภูเขา สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษอย่างน้อยก็หลักร้อยปี ใช้ชีวิตกินอยู่อย่างยั่งยืน เพราะป่าคือบ้าน ป่าคือชีวิต พวกเขาจึงรักป่าดูแลป่า คนที่อยู่ในป่าเขาจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อได้ทำงานในป่า เช่นเดียวกันกับผึ้งป่า พวกมันอยู่มาเนิ่นนานในป่า พวกมันต้องการแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย เมื่อผึ้งไม่ถูกคุกคามจากสารเคมี ไม่ถูกรุกรานที่อยู่อาศัย มันก็จะให้น้ำหวานที่บริสุทธิ์รวมทั้งยังทำหน้าที่สำคัญคือผสมเกสรสร้างความหลากหลายและแข็งแรงให้พืชพรรณ สร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนและมนุษย์อย่างเราได้ใช้ประโยชน์


น้ำผึ้งหินลาดในถือเป็นน้ำผึ้งธรรมชาติที่ดีแห่งหนึ่ง ชาวบ้านที่นี่เก็บน้ำผึ้งไว้ใช้บริโภคในครัวเรือนทั้งปรุงอาหารและผสมกับสมุนไพรทำยารักษาโรค ส่วนที่เหลือนำออกจำหน่าย ทำการตลาดโดยกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ของชุมชน ขณะเดียวกันเยาวชนที่นี่จะได้เรียนรู้วิธีการต่างๆของการเลี้ยงผึ้งแบบธรรมชาตินี้สืบต่อไปด้วย รายได้จากการขายน้ำผึ้งของชาวบ้านจะแบ่งปันส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเพื่อใช้เป็นเงินหมุนเวียนของชุมชน น้ำผึ้งหินลาดในกระจายไปทั่วกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆ ในครัวของเชฟชื่อดังหลายที่มีน้ำผึ้งหินลาดในใช้เติมความหวานของอาหาร


ครั้งหนึ่งมีคนมาสั่งน้ำผึ้งห้วยหินลาดในจำนวนมาก แต่คำตอบจากพ่อหลวงคือ "ธรรมชาติให้มาแค่นี้" เป็นถ้อยคำที่ผมจดจำได้ดี มันชัดเจนเหลือเกินที่จะกล่าวถึงความยั่งยืนในวิถีของปกาเกอะญอ มันบ่งบอกถึงความเคารพต่อธรรมชาติอย่างที่สุด ถ้ามันตอบโจทย์ธุรกิจแต่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติพวกเขาก็ไม่เอาด้วยเหมือนกัน

ทุกวันที่ผมอยู่ในหมู่บ้านเป็นเวลาร่วมสัปดาห์มีแขกมาเยี่ยมเยือนบ้านห้วยหินลาดในไม่เว้นแต่ละวัน กระทั่งบางครั้งเวลาที่ชาวบ้านได้รางวัลยังมีหน่วยงานราชการที่ดูแลพื้นที่มาขอถ่ายภาพโล่รางวัล เป็นความสำเร็จของชุมชนที่ไม่ต้องอวดอ้างใดๆแม้จะมีรางวัลมากมายการันตีก็ไม่สำคัญเท่าความมั่นคงในวิถี ความเคารพในธรรมชาติ และความบริสุทธิ์ของหัวจิตหัวใจคนรักป่า ที่นี่จึงมีเสน่ห์ดึงดูดให้หลายคนอยากไปดูด้วยตาตัวเอง มีนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติมาดูมาศึกษาวิถีชีวิตมากมาย เป็นคุณค่าที่หลายคนบอกว่าคู่ควรแก่การเก็บรักษา ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆของวิธีการเลี้ยงผึ้งในป่ายังถูกถ่ายทอดส่งต่อไปอีกหลายหมู่บ้านด้วย


การเลี้ยงผึ้งป่ายังถูกถ่ายทอดไปยังหมู่บ้านปกาเกอะญอที่อื่นๆ เช่นเดียวกับหมู่บ้านแม่เหยาะคี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นี้ด้วย

เรื่องราวของน้ำผึ้งที่บ้านห้วยหินลาดในมักพาให้ผมย้อนเวลากลับไปช่วงเดือนเมษายน ปี 2557 บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ถูกควบคุมตัวจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานพร้อมน้ำผึ้งป่าจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นก็หายตัวไปไม่กลับมาอีกเลย จนมาสู่การต่อสู้ของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย ที่ยืดเยื้อยาวนานจนถึงทุกวันนี้ มันเป็นเรื่องราวที่ขมขื่นของชะตาชีวิตและวิถีของชาวกะเหรี่ยงที่ถูกกดขี่มายาวนานและไม่มีทีท่าจะจบลงง่ายๆ ซึ่งส่งผลกระทบกับผู้คนทุกชาติพันธุ์ที่อาศัยทำกินในป่ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ


เราควรยอมรับได้แล้วว่าคนเมืองอย่างเราใช้ทรัพยากรไปอย่างฟุ่มเฟือยและไม่เคยคิดรักษาป่าที่เคยมีอยู่ได้ เราต้องยกย่องกะเหรี่ยงที่ยังคงรักษาป่าไว้ได้ รู้จักใช้ทรัพยากรให้ยั่งยืนมาได้จนถึงทุกวันนี้ และปล่อยให้พวกเขาได้จัดการป่าไม้ด้วยองค์ความรู้ของเขา เราควรหนุนเสริมหรือเชื่อมโยงกับพวกเขาแทนที่จะยัดเยียดให้พวกเขาเป็นผู้ร้าย อย่าให้น้ำผึ้งมันขมเหมือนที่บางกลอย น้ำผึ้งมันควรหอมหวานเหมือนที่ห้วยหินลาดในมากกว่า

Climb the mountain to see the watershed of Mae Lao

"People and Bees Help Build Sustainability for the Forest"

The phenomenon of "bee collapse" in Europe and America is big news around the world. because of severe impact on the agricultural sector Bees play an important role in the pollination of agricultural crops. The causes are many, including habitat destruction, chemicals, parasites and climate change. however That is a problem that will inevitably affect our human food production.

Pakagenyau village in Wiang Pa Pao district Chiang Rai There is a strong relationship between people and wild bees that help build a fertile forest. provide food security maintain ecological balance including generating income for the community

Ban Huai Hin Lat Nai is located in the fertile forest of Wiang Pa Pao District. Chiang Rai It is the source of the Lao river. with a population of more than a hundred The village is tucked away in a valley surrounded by green forests. Even in summer it's cool. But such a beautiful place had gone through a lot of bad situations.

During the years 1986-1988, the government gave forest concessions. The forest was severely destroyed. Wild animals are extinct from the forest. The way of life of the villagers has changed dramatically, even in 1989, the state announced the cancellation of the concession and closed the forest Villagers still have to contend with the state's watershed management. by moving people out of the watershed area causing villagers to become intruders by default Yet they continue to fight and do whatever it takes to let everyone know that their way of coexisting with the forest is not deforestation.


I walked along the hillside. It's a road that used wood wool in the past. Looking beyond is a picture of a complex mountain. and the green forest stretches as far as the eye can see On a narrow walkway, a tall and slender man in front of me is Phor Luang Chaiprasert Phoka, the leader of the Pakageny community at Ban Huai Hin Lat Nai. We walked through the big trees. I noticed one tree was bigger than the other. "This tree, the villagers asked not to cut," Father Luang told us about the past.


From the dense forest, we arrived at "Rai Lao" or the remains of the leftover rice fields. which is the so-called agriculture "Rotational Farming" is different from shifting farms as many people know. Shifting cultivation is an ancient farming practice that is free from chemicals and soil flipping.

"Honey bees, people build nests. Bees make food.

The tiger flower is withering lush green leaves Last year's rice fields were covered with various crops. The stump that had been burned to black last year was now sprawling overhead. The decayed heaps of straw are decomposing well. Eggplant, chili, lemongrass and other vegetables are scattered throughout the area. The same old bamboo hut thatched roof where I used to sip hot tea while watching the rain last year is shabby. There was a honeycomb that Father Luang had set up. Wooden honeycombs make up some rectangular boxes. Or bring a piece of wood to drill into some holes and cover the end of the head. Drill a small hole for the bees to get in and out of. Between April and May, bees accumulate nectar in the hive. and most of the bee larvae have hatched. Villagers collect honey during this period known as "Honey in the fifth month"


It has been noted that beehives set up in a carcass plantation left to rest in the soil 1-2 years after harvesting yield a large amount of honey. Because there are many herbaceous plants and weeds that grow up. before the big tree grows
In a shifting plantation that has been left for one to two years, it is filled with a variety of flowering vegetables and weeds. which is a food source for bees These plants are free of both herbicides and pesticides, so they are not harmful to bees. make the villagers get pure honey


Phor Luang informs him to wear a bee protection suit that he made by himself. The hat is woven with rattan. sewn with thick fabric and netting Put on rubber gloves and gently use a hammerhead ax to pry out the nails. The broken bee flew around the hut but didn't sting us. The King took off his hat. I stood and watched from a distance. before receiving a signal from Father Luang that "This bee hive is not fierce" to get close. The scent of honey wafts The royal father carefully used a knife to cut the honeycomb out of the wooden box one at a time, and then cut off only the water. Leave the nest for the larvae to hatch from the nest. About half an hour when the king finished collecting the honey, he left a portion of the honey for the bees to feed the larvae and build a new hive.


Each hive of honey has a different smell and taste. At one time, I smelled a fragrance like pandan leaves. Still wondering what flowers smell like pandan leaves? Or even honey smells like rubber Nanyang has ever encountered. Some hives are sour, some are bitter. The charm of wild honey lies in the variety of flavors and aromas according to the flowers that the bees seek for nectar.

"Add a quote you would like to feature. Maybe it's a message from the founder or something that reflects your brand's character. Click to edit and add your own."

"The royal bee, the royal bee on the top of the house"

Agroforestry is a forest used by villagers as a source of food and other village produce. In this agroforestry there are various products to be collected throughout the year according to the season. This part of the forest will not be cleared in the slightest. I walked along the hillside and plummeted down the gorge on both sides of the road where there were dense trees. both a large tree so tall that it had to raise its neck up to its shoulders, and a medium-sized stick. Under those trees were tea trees growing everywhere.


The hunter-gatherer hammered bamboo to the top of a tree about thirty meters high to collect royal honey.
I followed P' Supawong Pa Pa or P' Wong until under a big tree about thirty meters tall. There was a large nest of royal bees perched on the top of the house. Phee Wong is one of the three hunters in the village. Because royal bees tend to nest on steep trees. Some trees are about forty meters tall. and the royal bee is like a hollow bee Therefore, there are few people who can go up to take the nectar of the royal bee. A person who grows a royal bee must be strong and skillful. Protective equipment must be sealed. Hammering "Bamboo Toss" up to use a lot of strength. When being attacked by bees, they must find a way to protect them.


The bamboo throws were hammered onto the huge trees of the forest, one by one, for two hours at a time. P' Wong then came down and put on a bee protection suit. before he climbed back up with the blips and vines igniting the flames to create smoke. That must be used for freshwater troughs because when the flakes fall down, it will be extinguished from mid-air. Do not fall to the ground below where dry leaves are piled up, which will cause forest fires. when reaching the honeycomb The hunter will use a knife to cut only the nectar part and leave the hive for the larvae to hatch to breed and create new nectar. Most of the royal bees eat tall perennial flowers. The nectar of one royal bee hive is about 10-15 kilograms. The hunters will put the nectar on the palm and slowly lower it down to the assistant waiting below to receive it.

The hunter-gatherer prepares a suit to go up to collect honey. The clothing you are wearing must be thick enough that the bee sting doesn't reach your skin.

bee sting The collection of royal honey was sometimes unsuccessful. It is a difficult job that requires experience.
I gasped on a steep hill of unknown direction after running from four or five bees following from a hive high in the trees in the agroforestry. Thinking it was safe, I slowly took off the second layer of the visor. Take off the cloak and gently remove the four or five stings that the royal bee has deposited from the shirt and hat. That was already very exciting. But when I saw the stinger embedded on the hunter's suit that went up to take the honey bee nectar from the hive Attached to my shirt looks a little. Hundreds of stingers were embroidered all over the hunter's outfit.

"Wild Bee Man"

We all know that people can't choose to be born. Some people are born to use only a square screen and a small room. Some people have hundreds of thousands of acres of land. Some people were born in the mountain forests like the Pak K'nyau people. Everyone wants something to eat. The Pak Knyaw people have their farming in the forests on the mountains and have been passed down from their ancestors for at least a hundred years. Sustainable living Because the forest is home, the forest is life, they love the forest and take care of the forest. People in the forest are most effective when working in the forest. The same goes for wild bees. They have been in the forest for a long time. They need a food source and habitat when bees are not threatened by chemicals. not invaded It will provide pure nectar and also perform an important function of pollination to create diversity and strength of plants. Create a sustainable ecosystem that we humans can take advantage of.

Hin Lad Nai honey is considered one of the best natural honey. The villagers here keep honey for household consumption, both for cooking and mixing with medicinal herbs. The rest are released for sale. Marketed by a group of young people, the new generation of the community. At the same time, young people here will continue to learn various methods of natural beekeeping. The proceeds from the villagers' honey sales will be shared with a portion of the fund to use as the community's working capital. Hin Lad Nai honey is distributed throughout Bangkok and other provinces. In the kitchens of many famous chefs, there is honey slate used to add sweetness to the food.

One time someone came to order a large amount of Huai Hin Lad Nai honey. But the answer from the King is "Nature gave me just this" is a phrase that I remember well. It is very clear to mention sustainability in Pga K'nyau's way. It indicates the ultimate respect for nature. If it meets business needs but affects nature, they don't either.

Every day that I was in the village for a week, there were visitors to Ban Huai Hin Lad Nai every day. Even sometimes when the villagers receive the award, there are government agencies in charge of the area asking to take photos of the award plaques. It's a community achievement that doesn't have to be boasted, despite its many rewards, it's not as important as the stability of its course. respect for nature and the purity of the heart of the forest lovers There is a charm that many people want to see with their own eyes. There are many Thai and foreign students come to see and study the way of life. It is a value that many people say is worthy of keeping. The knowledge of beekeeping methods in the forest has also been passed on to many villages.

Wild beekeeping is also transmitted to other Pga K'nyau villages. as well as Mae Yao Kee Village, Mae Chaem District, Chiang Mai Province

The story of honey at Ban Huai Hin Lat Nai often takes me back in time to April 2014. Billy Porlajee Rakchongcharoen was detained by Kaeng Krachan National Park officials with a handful of wild honey. After that, it disappeared and never came back. until it came to the battle of the Karen people in Bang Kloi that lasted a long time until today It is a bittersweet story of the fates and lifestyles of the Karen people who have been oppressed for a long time and are unlikely to end easily. which affects people of all ethnicities who have lived in the forest since their ancestors

We should be able to accept that urban people like us spend their resources lavishly and never think of preserving the forests that once existed.

Photos : Chalit Saphaphak
Essay : Kheansang

bottom of page