top of page

Kaeng Krachan Forest Complex : กลุ่มป่าแก่งกระจาน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถในการรองรับปรับตัวด้านสังคม เศรษฐกิจและระบบนิเวศของภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจาน

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้รับการสนับสนุนจาก GEFSGP- UNDP ให้ดําเนินการศึกษาและประเมินข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Assessment) ในการปรับตัวด้านสังคมและระบบนิเวศ รวมทั้งจัดทําข้อเสนอยุทธศาสตร์ด้านการสนับสนุนปรับตัวในพื้นที่ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจาน โดยมีระยะเวลาในการดําเนินการตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564 การดําเนินการศึกษาและประเมินในครั้งนี้ ใช้วิธีการศึกษาดังนี้

1.การศึกษาทบทวนข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.การประเมินโดยใช้แบบสอบถาม โดยใช้ตัวชี้วัดการปรับตัวด้านสังคมและระบบนิเวศใน
พื้นที่ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจาน ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด

"ลักษณะทางกายภาพและระบบนิเวศ...."

ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาตะนาวศรี (Tenasserim Range) ต่อเนื่อง กับพื้นที่ป่าฝั่งประเทศพม่า ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ 4 แห่ง ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป์าแม่น้ําภาชี รวมพื้นที่ประมาณ 2,938,596 ไร่ หรือ 4,700 ตารางกิโลเมตร

ผืนป่าขนาดใหญ่แห่งนี้ได้รับการยอมรับในทางวิชาการว่ามีความสําคัญในด้านการอนุรักษ์ ระบบนิเวศและแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพอันดับต้นๆของภูมิภาค โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ําภาชี มีรายงานการพบสัตว์ป่าและพืชพันธุ์หายากและใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้าง สมเสร็จ วัวแดง กระทิง หมาใน เสือโคร่ง เก้งหม้อ เลียงผา เป็นต้น

นอกจากนั้นภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานยังเป็นแหล่งต้นน้ํา สําคัญของ 3 ลุ่มน้ําหลัก ได้แก่ ลุ่มน้ําแม่กลอง ลุ่มน้ําเพชรบุรีและลุ่มน้ําชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก จนได้รับการเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกกับ UNESCO


สภาพสังคม วัฒนธรรม....

ผลการสํารวจแนวเขตที่ดินและที่อยู่อาศัยตามมาตรา 64 ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และมาตรา 121 ของพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 พบว่ามีพื้นที่อยู่อาศัยและที่ดินทํากินของประชาชนอยู่ในป่าอนุรักษ์รวมทั้งสิ้น 92 ชุมชน จํานวน 3,512 ราย เนื้อที่ทั้งสิ้น 54,263.78 ไร่ คิด เป็น 1.85% ของพื้นที่ทั้งหมดของกลุ่มป่าแก่งกระจาน

โดยประชาชนที่ตั้งถิ่นฐานสามารถสามารถจําแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คนไทยพื้นราบ กลุ่มที่ 2 กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ กลุ่มที่ 3 กลุ่มชาติกะเหรี่ยงโผล่ว กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น โซ่ง ลาวครั่ง ลาวพวน เป็นต้น
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีจํานวนมากคือ โผล่ว โดยส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบ ในเขตพื้นที่อําเภอสวนผึ้ง อําเภอโป่งกระทิง อําเภอบ้านคา อําเภอปากท่อ อําเภอหนองหญ้าปล้อง อําเภอแก่งกระจาน อําเภอหัวหิน สําหรับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง “ปกาเกอะญอ” มักตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณพื้นที่สูง ได้แก่ บ้านพุระกํา บ้านวังโค บ้านห้วยน้ําหนัก บ้านโป่งแห้ง บ้านบางกลอยบน บ้านโป่งลึก บ้านปกาเกอะญอ บ้านป่าละอูน้อย บ้านป่าหมาก

สภาพทางด้านเศรษฐกิจ....

สภาพสังคมชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพรับจ้างและอาชีพค้าขายตามลําดับ อย่างไรก็ตามลักษณะของการประกอบอาชีพมีลักษณะผสมผสาน กล่าวคือ มีอาชีพรับจ้างเป็นแหล่งรายได้หลักและทําการเกษตรเพื่อยังชีพ (ไร่ข้าว) หรือปลูกผักเพื่อไว้ใช้ในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจะจําหน่ายเป็น รายได้เสริม บางครอบครัวมีอาชีพทําการเกษตรเป็นอาชีพหลัก แต่เมื่อมีเวลาว่างจากการทําการเกษตรก็ประกอบอาชีพรับจ้างด้วย หรือในครอบครัวสามีประกอบอาชีพทําการเกษตรหรือรับจ้าง ในขณะที่ภรรยาประกอบอาชีพค้าขาย และมีแหล่งรายได้จากลูกที่ออกไปทํางานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการ เป็นต้น

การมีอาชีพที่หลากหลายทําให้คนในชุมชนสามารถมีทางเลือกในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ เช่น กรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดภาคอุตสาหกรรมปิดตัวลงก็สามารถเดินทางกลับภูมิลําเนาเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมไปพรางก่อนเพื่อรอกลับไปทํางานในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการเป็นต้น

CHS_5607_edited.jpg
CHS_5698.jpg
CHS_5689.jpg
CHS_5696.jpg

ความหลากหลายของภูมิประเทศ/ระบบนิเวศ....

พื้นที่ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานมีความหลากหลายของภูมิประเทศและระบบนิเวศอยู่ในระดับสูง (3.81) โดยพื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ภูเขาสูง ประกอบด้วยระบบนิเวศทางธรรมชาติที่เป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ความหลากหลายของลักษณะภูมิประเทศและระบบนิเวศ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งสัตว์ป่าและพืชพันธุ์

"การปกป้องระบบนิเวศ..."

การปกป้องโดยหน่วยงานของรัฐ
ผลจากการประเมินพบว่าระบบนิเวศของภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการปกป้องจากหน่วยงานของรัฐในระดับที่สูง (3.71) เนื่องจากพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานอยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ 3 แห่งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง จึงได้รับการปกป้องและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 โดยหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักคือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สําหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่า สงวนแห่งชาติซึ่งได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยกรมป่าไม้ อย่างไรก็ตามพื้นที่บางส่วนได้มีการออกเอกสารสิทธิการทําประโยชน์ ได้แก่ โฉนด นส.3 นส.3 ก. รวมทั้งเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปบางส่วน นอกจากน้ันเนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นท่ีความมั่นคงชายแดน จึงมีหน่วยงานทหาร (ทัพพญาเสือ) และตํารวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เข้ามามีบทบาทในการลาดตระเวนร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า พื้นที่ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการคุ้มครองอย่างเข้มงวดในทางกฎหมายรวมทั้งมีหน่วยของรัฐที่รับผิดชอบโดยตรง

การปกป้องโดยชุมชน
ผลจากการประเมินพบว่าชุมชนมีการปกป้องระบบนิเวศในระดับสูง โดยพบว่ามีรูปแบบที่หลากหลายตั้งแต่ระดับการเป็นวิถีชีวิตซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของสภาพภูมิประเทศและเงื่อนไขการถูกกําหนดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมาย (เช่น การใช้ไม้ไผ่จะไม่ไปตัดไกลจากหมู่บ้านมากนัก) การมีวัฒนธรรม จารีตประเพณีที่สืบทอดกันมา (เช่น พิธีไหว้ต้นไม้ พิธีไหว้ศาลหมู่บ้าน พิธีไหว้พระแม่โพสพ) ไปจนถึงการกําหนดเป็นกฎกติกา ข้อตกลงภายในชุมชน (เช่น ห้ามใช้ยาเบื่อปลา ห้ามใช้ไฟช็อตปลา) อย่างไรก็ตามพบว่า การปกป้องระบบนิเวศโดยชุมชนไม่เน้นในรูปแบบที่เป็นทางการ (เช่น การจัดตั้งป่าชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน การมีอาณาเขตพื้นที่ที่ชัดเจน กฎกติกาการลงโทษผู้ฝ่าฝืนที่บังคับใช้) นอกจากนั้นพบว่า จารีตประเพณีและความเชื่อของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมบางประการ (เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ธรณี) ซึ่งมีรากฐานความเชื่อมโยงจิตวิญญาณและวิถีชีวิตที่ผูกโยงกับความเคารพในผืนป่าและสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติตามความเชื่อดั้งเดิมลดน้อยลงและกลายเป็นเพียงรูปแบบปฏิบัติที่คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เข้าใจความหมายแท้จริงที่ ซ่อนอยู่ในเบื้องหลังความเชื่อและจารีตประเพณเหล่านั้น

"ความเกี่ยวข้อง/สัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแต่ละอย่างในระบบนิเวศของในพื้นที่...."

ผลจากการประเมินพบว่า ระบบนิเวศย่อยของพื้นที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันสูง (3.69) เช่น ความสัมพันธ์ของลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศย่อย โดยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขา สูงและเป็นแนวปะทะของอากาศชื้นก่อให้เกิดความชื้นสูงและฝนตกค่อนข้างชุก ก่อให้เกิดระบบนิเวศป่าดิบชื้นและกลายเป็นแหล่งต้นน้ําลําธารของแม่น้ําสายหลัก ได้แก่ แม่น้ําภาชี แม่น้ําเพชรบุรี แม่น้ําปราณบุรี เป็นต้น

การใช้ประโยชนที่ดินในภาคการเกษตรถือเป็นปัจจัยสําคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศแม่น้ําและแหล่งน้ํา โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่ทําการเกษตรแบบเปิดโล่งไม่มีการจัดการ landscape ที่ดีพอ การไม่เว้นระยะ buffer zone ระหว่างพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ลําธาร ทําให้เกิดการชะล้างพังทะลายของหน้าดินลงสู่แหล่งน้ําด้า้นท้าย ก่อให้เกิดการตื้นเขินของลําน้ําตามธรรมชาติไม่สามารถกักเก็บน้ําเพื่อใช้สําหรับการอุปโภคและบริโภคในฤดูแล้ง ในขณะที่ฤดูน้ําหลากพื้นที่รับน้ําของลําน้ําลดน้อยลงและก่อให้เกิดปัญหาน้ําลนตลิ่ง ท่วมบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร ในขณะที่การใช้สารเคมีในภาคการเกษตรนั้นขาดการควบคุม ส่งผลให้เกิดการตกค้างของสารเคมีในแหล่งน้ํา และส่งผลกระทบต่อสัตวน้ําที่อยู่ในแหล่งน้ําได้

การฟื้นตัวและการคืนสภาพของพื้นที่....
ผลจากการประเมินพบว่า การฟื้นตัวและการคืนสภาพของพื้นที่อยู่ในระดับสูง (3.66) โดยการ ฟื้นตัวและการคืนสภาพของพื้นที่ป่าไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณน้ําฝนและความชื้น ลักษณะของดินและ ความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ สภาพระบบนิเวศโดยรอบท่ียังมีแม่ไม้หรือพืชพันธุ์อื่นๆ รวมท้ังระยะเวลาในการ เปลี่ยนแปลงสภาพหรือการเข้าไปใช้ประโยชน์ หรือระดับการรบกวนพื้นที่ เป็นต้น ทั้งนี้
ลักษณะภูมิประเทศของ กลุ่มป่าแก่งกระจานท่ีด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาสูงและเป็นแนวรับลมมรสุมจากอันดามันทําให้บริเวณดังกล่าวมี ปริมาณน้ําฝนและความชื้นสูง ในขณะที่ด้านตะวันออกมีลักษณะเป็นเขตเงาฝน ดังนั้นจึงทําให้การฟื้นตัวและการคืนสภาพของพื้นที่ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานมีลักษณะแตกต่างกันไปตามปัจจัยของสภาพภูมิประเทศ


ความหลากหลายทางชีวภาพ (รวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร)

ความหลากหลายของระบบพืชอาหารในท้องถิ่น....
ผลจากการประเมินพบว่าในพื้นที่ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชอาหารทั้งท่ีเกิดข้ึนเองตามธรรมชาติและถูกเพาะปลูกพัฒนาข้ึนในระบบการเกษตรอยู่ในระดับสูง (3.78) โดย พืชอาหารสําคัญท่ีชุมชนได้ใช้ประโยชน์ เช่น หน่อไม้ ผักกูด เหลียง เห็ดชนิดต่างๆ ในขณะที่พืชอาหารสําคัญใน ภาคการเกษตร เช่น ข้าวไร่ ข้าวนาดํา/หว่าน พริก แตง ฟัก แฟง มะเขือ ถั่ว งา กล้วย มะละกอ มะนาว ขนุน ทุเรียน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามพืชอาหารท่ีถือว่ามีความสําคัญลําดับต้นๆ คือ “ข้าว” ซึ่งแต่เดิมสามารถเพาะปลูก ข้าวได้อย่างเพียงพอ แต่เมื่อถูกจํากัดพื้นท่ีการทําไร่ข้าวทําให้ได้ผลผลิตไม่เพียงพอ ดังน้ันจึงพบว่า สมาชิกในชุมชน ส่วนใหญ่มักจะปลูกพืชผลทางการเกษตรเพื่อส่งไปขายในตลาด หรือทํางานรับจ้างแล้วนําเงินไปซื้อข้าวมาไว้เปฺน อาหารในครอบครัว ในขณะที่อาจมีบางครอบครัวที่ยังคงปลูกข้าวไร่ ข้าวนาหว่าน เพื่อเก็บไว้ในแต่ละรอบปี สภาวะดังกล่าวทําให้ไม่สามารถพึ่งพาตนเองและมีความเปราะบางค่อนข้างสูง โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ห่างไกล เช่น ชุมชนบ้านโป่งลึก ชุมชนบ้านบางกลอย ชุมชนบ้านปาเกอะญอ ซึ่งสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน การขนส่งผลผลิตทางการเกษตรมีต้นทุนสูง และได้ผลผลิตไม่ดีนักเมื่อเทียบกับพื้นที่ชุมชนท่ีอยู่ด้านนอก หรือหากในปีใดผลผลิตท่ีเป็นแหล่งรายได้หลักตกต่ำ ได้รับความเสียหายจากลมพายุ น้ําท่วมไม่สามารถ ขนย้ายผลผลิตไปจําหน่ายได้ สมาชิกในชุมชนจะมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนเงินทุนสําหรับการนํามาซื้อข้าวเพื่อเป็นอาหารในครอบครัว

ปัญหาน้ีในอดีตได้มีความพยายามในการแก้ไขโดยการตั้ง “ธนาคารข้าว”เพื่อให้สมาชิกในชุมชน นําข้าวท่ีเก็บเก่ียวผลผลิตได้มาฝากไว้หากครอบครัวใดมีการขาดแคลนข้าวสามารถไปยืมข้าวจากธนาคารข้าวไปใช้ในครัวเรือนก่อนได้ แต่เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จึงค่อยนํามาคืน แต่ปัจจุบันการดําเนินงานของธนาคารข้าวขาดความต่อเนื่อง รวมท้ังสมาชิกในชุมชนไม่สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตเพียงพอหรือไม่ได้ข้าวจึงไม่มีการนําข้าวมาฝากอีกต่อไป

การรักษาและใช้ประโยชน์พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์พื้นถิ่นที่หลากหลาย....
ผลจาการประเมินพบว่ามีการรักษาและใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์พื้นถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง (2.95) โดยยังพบว่าสมาชิกในชุมชนยังมีการเก็บรักษาและขยายพันธุ์พืชพื้นท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น พันธุ์ข้าวไร่ พันธุ์พริกกะเหรี่ยง พันธุ์แตงเปรี้ยว พันธุ์ฟัก แฟง มะเขือ รวมท้ังไม้ยืนต้นอื่นๆ เช่น หมาก เป็นต้น อย่างไรก็ ตามพบว่ามีแนวโน้มการเก็บรักษาลดลง เนื่องจากการเข้ามาแทนที่โดยเมล็ดพันธุ์ท่ีผ่านการปรับปรุงพันธุ์จากบริษัทซึ่งให้ผลผลิตท่ีสูงกว่า รวมท้ังการสืบทอดองค์ความรู้และเทคนิคในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชอาหารที่หลากหลายไปสู่เยาวชนคนรุ่นหลัง

การจัดการทรัพยากรของส่วนรวมอย่างยั่งยืน....
ผลการประเมินพบว่ามีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวมอย่างยั่งยืนในระดับปานกลาง (3.29) โดยพบว่า การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวมเป็นไปตามวิถีชีวิต และใช้ความตระหนักรู้ (เช่น การ ไม่ใช้ยาเบื่อปลา หรือไฟช็อตปลา พื้นที่ป่าใช้สอยสาธารณะ) อย่างไรก็ตามพบว่า ชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ กติกาหรือข้อตกลงชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวมท่ีชัดเจน รวมทั้งยังไม่มีระบบในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรกรธรรมชาติ สําหรับพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ซึ่งเป็นพื้นท่ีนอกเขตป่าอนุรักษ์พบว่า มีการจัดการท่ีมีหลักเกณฑ์ค่อนข้างชัดเจนมากว่า เช่น การจัดการในรูปแบบป่าชุมชนซึ่งข้ึนทะเบียนกับกรมป่าไม้ การสงวนพื้นที่ไว้เป็นท่ีสาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าในอนาคตการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวมอย่างยั่งยืนในเขตพื้นท่ีอนุรักษ์จะมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมีการกําหนดไว้ในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 65 และ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 57 เพื่อผ่อนผันให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดทดแทนได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

ความรู้และนวัตกรรม....
นวัตกรรมทางการเกษตรและแนวปฏิบัติในการอนุรักษ์ การทําการเกษตรในส่วนใหญ่ในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานมีลักษณะเป็นการทําเกษตรพืชเชิงเดียว (Mono crop) โดยมีพืชสําคัญได้แก่ สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ํามัน อ้อย อย่างไรก็ตามพบว่าเกษตรกรมีแนวโน้มที่ปลูกไม้ผลยืนต้นในรูปแบบผสมผสานกันมากขึ้น เช่น การปลูกทุเรียน ส้มโอ หมาก กล้วยน้ําว้า มะละกอ มะนาว พริกรวมในแปลงเดียวกัน การทําการเกษตรรูปธรรมดังกล่าวมีข้อดีคือ เป็นการทําการเกษตรที่เป็นมิตรกับ ส่ิงแวดล้อมมากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการผันผวน ของราคาผลผลิตในตลาดโดยจะมีรายได้จากผลผลิตอย่างต่อเนื่องทั้งที่เป็นรายวัน รายเดือน รายปี

ภูมิปัญญาพื่นบ้านท่ีเก่ียวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ....
จากการสํารวจพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่ม กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ และกะเหรี่ยงโผล่ว โดยกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงทั้ง 2 กลุ่มน้ีมีภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทําไร่หมุนเวียน รวมทั้งการปลูกพืชไม้ผลแบบผสมผสาน ตัวอย่างเช่น บ้านโป่งลึก-บางกลอย บ้านปกาเกอะญอ บ้านป่าละอูน้อย ต้ังอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และบ้านป่าหมาก ซึ่งต้ังอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในกลุ่มนี้มีการคัดเลือกและเก็บเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้านได้เพาะปลูกในไร่หมุนเวียนมีพืชชนิดต่างๆ เกือบ 300 ชนิด ในขณะท่ีผลการศึกษาการใช้สมุนไพรของชุมชน บ้านโป่งลึก-บางกลอยพบว่ามีความรู้ในการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดต่างๆ จํานวนอย่างน้อย293ชนิด เป็นชนิดที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือยาบํารุงร่างกาย 181 ชนิด ใช้เป็นอาหาร 121 ชนิด ใช้สอยในชีวิตประจําวัน 41 ชนิด ใช้ในพิธีกรรมและประเพณี 6 ชนิด ซึ่งบางชนิดสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายประเภท

การบันทึกความรู้ท่ีเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ....
การบันทึกความรู้ท่ีเก่ียวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพยังไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลาย ลักษณ์อักษรท่ีชัดเจนนัก ส่วนใหญ่ใช้วิธีการถ่ายทอดและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การทําการเกษตรจากรุ่นสู่รุ่น ท้ังนี้พบว่าเมล็ดพันธุ์พื้นถิ่นหลายชนิดเช่น พันธุ์ข้าวไร่ พริกกะเหรี่ยง ฟักทองกะเหรี่ยง แตงเปรี้ยว บวบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามชนิดพันธุ์เหล่าน้ีเสี่ยงต่อการสูญหายไปจากระบบการเกษตรเนื่องจากกําลังถูกแทนท่ีด้วยเมล็ดพันธุ์ท่ีผ่านการปรับปรุงพันธุ์ซึ่งให้ผลผลิตท่ีสูงกว่า ในขณะที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ขาดช่วงการสืบทอดความรู้เก่ียวกับภูมิ ปัญหาท้องถิ่นด้ังเดิมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ

ความรู้ของผู้หญิง....
ผู้หญิงจะมีความรู้และบทบาทสําคัญในการจัดการกับความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่ในพื้นท่ี เกษตรกรรมและพื้นท่ีป่าธรรมชาติโดยเฉพาะพืชพันธุ์ที่สามารถใช้เป็นแหล่งอาหารสําหรับคนในครอบครัว โดยเฉพาะความรู้ในด้านการปลูก การดูแลรักษา การคัดเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์ การขยายพันธุ์ ในขณะท่ีผู้ชายส่วนใหญ่จะมีความรู้ในด้านพืชท่ีสามารถใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค การปรับพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การบริหารจัดการแหล่งน้ําเพื่อการเกษตร เป็นต้น นอกจากนั้นในพื้นที่ภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานบทบาทของผู้หญิงได้รับการยอมรับค่อนข้างสูง โดยพบว่ามีผู้หญิงข้ึนมาทําหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําชุมชน และหัวหน้ากลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มพัฒนาอาชีพ กลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น เงื่อนไขการยอมรับขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับผู้นําในชุมชน บทบาทในชุมชน ความสามารถในการประสานงานระหว่างชุมชนกับบุคคลภายนอก รวมทั้งระดับการศึกษา

"ธรรมาภิบาลและความเท่าเทียมทางสังคม"

สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน น้ําและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดจะได้รับรองสิทธิของบุคคลและชุมชนในการจัดการบํารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและ ยั่งยืน แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานถูกกําหนดอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรีภายใต้กฎหมายอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภายใต้กฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า เช่นเดียวกับพื้นที่ป่าโดยรอบซึ่งส่วนใหญ่ถูกกําหนดเป็น พื้นท่ีป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 จึงทําให้สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน น้ําและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ถูกจํากัดขอบเขตไว้โดยผลของกฎหมายดังกล่าว ท้ังน้ีปัญหาสิทธิในการจัดการท่ีดินและ ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ได้กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม กลุ่มชาติพันธุ์กับหน่วยงานของรัฐ มายาวนาน ประชาชนเหล่าน้ีเสี่ยงต่อการถูกจับกุมดําเนินคดีและถูกบังคับอพยพโยกย้ายออกไปจากพื้นท่ี

ในปี 2561 ได้มีการรับปรุงพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ผ่อนปรนให้การใช้ประโยชน์ในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นท่ีอนุรักษ์เหล่าน้ีสามารถดําเนินการได้หากดําเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกําหนด โดยเข้าสู่กระบวนการสํารวจและร่วมโครงการจึงจะได้รับสิทธิในการใช้ประโยชน์ (Use Rights) ในที่ดินสําหรับทําการเกษตรและอยู่อาศัย เช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์จากผลผลิตจากป่าอนุรักษ์ เช่น หน่อไม้ ผักหวาน ไม้ไผ่ ปลา เป็นต้น กฎหมายได้กําหนดขั้นตอน และกระบวนการในการผ่อนปรนให้ชุมชนใช้ประโยชน์ได้ ในขณะที่พื้นท่ีป่าสงวนแห่งชาติ หากได้จัดต้ังเป็นป่าชุมชนตามพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2562 ก็จะมีสิทธิในการจัดการ บํารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในเขตป่าชุมชนได้รับอนุญาตให้จัดต้ังเป็นป่าชุมชนแล้วได้ ดังน้ันสิทธิในการใช้ท่ีดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ของชุมชนจึงไม่ได้เป็นสิทธิโดยเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดอย่างสมบูรณ์ แต่การที่ชุมชนจะได้สิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความ หลากหลายทางชีวภาพ จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนและเงื่อนไขตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้จึงจะทําให้ชุมชนได้รับสิทธิในการจัดการ บํารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ

กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ได้รับการยอมรับในทางวิชาการว่ามีความสําคัญในด้านการอนุรักษ์ ระบบนิเวศและแหล่งรวบรวมความหลากหลายหลายทางชีวภาพอันดับต้นๆของภูมิภาค

ธรรมาภิบาลของชุมชนเก่ียวกับการจัดการพื้นที่....
ผลการประเมินพบว่าธรรมาภิบาลของชุมชนในการจัดการพื้นท่ีอยู่ในระดับปานกลาง โดยในพื้นท่ีภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานมีการรวมกันของประชาชนในหลากหลายรูปแบบทั้งที่มีลักษณะเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น หมู่บ้าน ชุมชน หรือองค์กรชุมชนรูปแบบอื่นๆ (วิสาหกิจชุมชน องค์กรชุมชน กลุ่ม/ชมรม) โดยมีลักษณะการบริหารจัดการท้ังในรูปแบบที่เป็นทางการ มีกฎหมายรองรับ เช่น หมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร สมาคม มูลนิธิ สภาองค์กรชุมชน และในรูปแบบท่ีไม่เป็นทางการ เช่น การรวมตัวเป็นชุมชน กลุ่ม หรือชมรม เป็นต้น

ตัวอย่างกรณีท่ีน่าสนใจเป็นพิเศษ คือ พื้นที่ชุมชนสาริกาและบ้านแม่คะเมยบนซึ่งประกอบด้วยประชาชนจากหลายหมู่บ้าน ข้ึนไปอยู่อาศัยและทําประโยชน์ในที่ดินบริเวณชุมชนในลักษณะเช่นน้ีมีลักษณะการ ซ้อนทับของขอบเขตหมู่บ้านกับกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นท่ีซึ่งบริหารจัดการโดยใช็วัตถุประสงค์รวมกัน กรณีรูปแบบที่เป็นทางการหรือมีกฎหมายรองรับ จะมีกฎเกณฑ์และระเบียบแนวทางในการ ดําเนินงาน เช่น การบริหารจัดการในรูปแบบหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นําชุมชนและมีคณะกรรมการหมู่บ้านทํา หน้าที่ในการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชน โดยอยู่ภายใต้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการบริหารจัดการ หมู่บ้าน อย่างไรก็ตามพบว่าในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ กติกาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติส่ิงแวดล้อมและความหลากหลากหลายทางชีวภาพ หรือขอบเขต การใช้หรือการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติท่ีชัดเจนนัก ส่วนเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย จารีตประเพณีที่ชุมชน เคยปฏิบัติกันมา เช่น การห้ามใช้ไฟฟ้า หรือการใช้ยาเบื่อในการจับปลา

ทุนทางสังคมในลักษณะความร่วมมือกันของสมาชิกชุมชนทั่วทั้ง Landscape....
ทุนทางสังคม สมาชิกในชุมชนมีการรวมกลุ่มภายในชุมชนในรูปแบบต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ สําหรับกลุ่มที่เก่ียวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ยังไม่มีรูปแบบท่ีชัดเจนนัก

ความเท่าเทียมทางสังคม (รวมถึงความเสมอภาคระหว่างเพศ)...
ผลจากการประเมินพบว่า สมาชิกในชุมชนมีความเท่าเทียมทางสังคมรวมถึงความเสมอภาคระหว่างเพศอยู่ในระดับปานกลาง (3.46) แม้ว่าสมาชิกในชุมชนต่างๆ สามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและความ หลากหลายทางชีวภาพได้แต่ก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อจํากัด นอกจากน้ันสมาชิกในชุมชนรวมถึงผู้หญิงบางส่วนยังประสบปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ โอกาสทางการศึกษา การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมใน กระบวนการตัดสินใจ ท้ังในระดับครัวเรือนและชุมชน
• ปัญหาความยากจน การเข้าไม่ถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาชีพและรายได้
• เนื่องจากพื้นที่ของชุมชนอยู่ภายในเขตพื้นที่อนุรักษ์จึงทําให้ท่ีดินทํากินและท่ีอยู่อาศัยถูก จํากัดขอบเขต รวมท้ังจํากัดขอบเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (ห้ามใช้สารเคมี การใช้เครื่องจักร ขนาดใหญ่) รวมทั้งเป็นเรื่องยากท่ีจะพัฒนาสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า แหล่งน้ํา เป็นต้น
• สมาชิกในชุมชนบางส่วน โดยเฉพาะครอบครัวขยายรุ่นใหม่ไม่มีที่ดินทํากินและก่อสร้างท่ีอยู่อาศัยหรือมีท่ีดินและไม่เพียงพอ
• สมาชิกชุมชนบางส่วนยังไม่ได้รับสัญชาติไทยและไม่มีบัตรประชาชน จึงทําให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในด้านต่างๆ อย่างเท่าเทียมกับประชนชนท่ัวไป สิทธิการเดินทางถูกจํากัด (การเดินทางออก นอกเขตต้องขออนุญาต) ไม่สามารถเข้าถึงบริการและสวัสดิการพื้นฐานของรัฐ เช่น ด้านสาธารณสุข (30 บาทรักษาทุกโรค) เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด
• ปัญหาความยากจนเป็นอุปสรรคสําคัญท่ีจะทําให้เยาวชนเข้าถึงโอกาสทางด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม แม้ว่ารัฐจะจัดการศึกษาให้กับเยาวชนที่มีฐานะยากจนและอยู่ในพื้นท่ีหมู่บ้านห่างไกลเป็นการพิเศษก็ตาม
• อุปสรรคด้านการสื่อสารกับบุคคลภายนอกโดยเฉพาะสมาชิกชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์

"การทํามาหากินและความเป็นอยู่"

•โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ
ผลการประเมินพบว่า โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ถนน ไฟฟ้า โรงพยาบาล การเข้าถึงแหล่งน้ําสะอาด โครงสร้างพื้นฐานสําหรับการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง (3.22) เนื่องจากพื้นที่ชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ดังน้ันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ จึงต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ตามที่กฎหมายและระเบียบท่ีเกี่ยวข้องกําหนดไว้ ท้ังนี้ชุมชนบางแห่งเช่น ชุมชนโป่งลึก ชุมชนบางกลอย ชุมชนสาริกา ชุมชนบ้านแม่คะเมยบน ชุมชนบางกระม่า ชุมชนบ้านปาเกอะญอ ยังต้องได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะในด้านแหล่งน้ําและด้านการคมนาคม

•สุขภาพของประชาชนและสภาพของส่ิงแวดล้อม
ผลการประเมินพบว่า ในด้านสุขภาพของประชาชนและสภาพการดํารงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี อยู่ในระดับสูง (3.76) โดยในด้านสุขภาพของประชาชนยังไม่พบโรคระบาดในลักษณะท่ีเกิดข้ึนเป็นประจํา หรือโรคระบาดรุนแรงที่กระทบกับสมาชิกในชุมชนจํานวนมาก โดยโรคที่พบบ่อยได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไข่เลือดออก ไข้มาเลเรีย เป็นต้น ในด้านสภาพของส่ิงแวดล้อมพบว่าสมาชิกในชุมชนดํารงชีวิตอยู่ในส่ิงแวดล้อมท่ีดีปราศจากมลภาวะ อย่างไรก็ตามในบางช่วงเวลาของปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจัดอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ําดื่มน้ําใช้ในครัวเรือน รวมทั้งปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น หมอกควันของไฟป่า

•ความหลากหลายของแหล่งรายได้
ผลการประเมินพบว่า สมาชิกในชุมชนมีแหล่งรายได้ที่หลากหลายอยู่ในระดับปานกลาง (3.39) โดยส่วนใหญ่มีรายได้หลักๆ จากการทําการเกษตร การปศุสัตว์ รายได้จากการรับจ้าง รายได้จากผลิตภัณฑชุมชน (เช่น การทอผ้า การจักรสาน) รายได้จากการค้าขาย รายได้จากบุตรหลานที่ไปทํางานนอกหมู่บ้าน รายได้จากงานบริการ (เช่น การจัดการท่องเที่ยว) และอื่นๆ ตามลําดับ

•การทํามาหากินจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลการประเมินพบว่า มีการทํามาหากินจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพในระดับปานกลาง (3.07) โดยที่ผ่านมามีความพยายามของหน่วยงานรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในการส่งเสริมด้านอาชีพ เช่น การ ทอผ้าพื้นบ้าน การส่งเสริมอาชีพด้านการท่องเที่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ (เช่น กาแฟ กล้วยตาก ปลาแดดเดียว ปลาจ่อม กุ้งจ่อม) การประมง เป็นต้น นอกจากน้ัน ยังพบว่าพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากฐานความหลากหลายทางชีวภาพได้ โดยเฉพาะการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรภายในชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมท้ังด้านการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างไรก็ตามชุมชนจําเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างความรู้และความสามารถในด้านเทคนิคการแปรรูป (เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ การสร้าง แบนด์ การลดต้นทุนการผลิต) ด้านการตลาด (เช่น การตลาดแบบออนไลน์ Packaging การจับคู่ธุรกิจ) และด้านการจัดการภายในชุมชนหรือกลุ่มอาชีพ (เช่น การบริหารจัดการกลุ่ม การจัดการด้านการเงิน การจัดการบัญชี) ควบคู่ไปด้วย

•การเคลื่อนย้ายเพื่อประโยชน์ทางสังคมและระบบนิเวศ
ผลการประเมินพบว่า ความสามารถในการเคลื่อนย้ายเพื่อประโยชน์ทางด้านสังคมและระบบ นิเวศอยู่ในระดับปานกลางเกือบต่ำ (2.56)โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายเพื่อทําการเกษตรและสร้างที่อยู่อาศัยในที่ดิน ในลักษณะไร่หมุนเวียนในขอบเขตที่กว้าง ทั้งน้ีสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่ได้รับการจัดสรรที่ดินให้ทํากินเป็นแปลงประจําซึ่งจะต้องทําการเกษตรซ้ำต่อเนื่องจนส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเฉพาะผู้ท่ีได้รับการจัดสรรที่ดินจํานวนไม่มากนัก (0.1-3 ไร่) จะมีข้อจํากัดอย่างมากในการพักฟื้นที่ดินและย้ายไปเพาะปลูกในพื้นที่แปลงใหม่

ในด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติท่ีเกิดทดแทนได้หรือของป่าภายในเขตพื้นที่อนุรักษ์ กฎหมายฉบับเดิมนั้นถือเป็นการกระทําท่ีถือว่าฝ่าฝืนกฎหมาย แต่ในสภาพความเป็นจริงเจ้าหน้าท่ีก็ไม่อาจที่จะห้ามไม่ให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ขณะเดียวกันการใช้ประโยชน์ก็มิได้มีกฎกติกาหรือข้อตกลงที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 65 และ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 มาตรา 57 ได้กําหนดกระบวนการและขั้นตอนในการบริหาร จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนไว้โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืนเป็นหลัก ไม่ให้เกินศักยภาพการผลิต (Carrying capacity) จนอาจทําให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ

"สถานการณ์ภัยคุกคาม"

สถานการณ์ภัยคุกคามท่ีเคยเกิดข้ึนหรืออาจเกิดข้ึนในพื้นท่ีภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และการลักลอบล่าสัตว์ป่า ภัยแล้ง/การขาดแคลนน้ํา ไฟป่าและหมอกควัน อุทกภัยและน้ําหลาก ดินถล่ม ภัยหนาว โรคระบาดในพืช เศรษฐกิจตกต่ำ การถูกจับกุมดําเนินคดีและการถูก อพยพโยกย้ายจากชุมชน ความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเสื่อมถอยขององค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นท่ีเกษตรกรรม และผลกระทบจากการออกมาของสัตว์ป่า เป็นต้น

"โอกาส"

1. นับต้ังแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นมา ได้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติอุทยาน แห่งชาติ พ.ศ.2562 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ซึ่งเปิดโอกาสให้การสํารวจท่ีดินทํากิน และที่อยู่อาศัยของประชาชนท่ีอยู่ในเขตพื้นท่ีอนุรักษ์ รวมทั้งอนุญาตให้ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติท่ีเกิดทดแทนได้โดยไม่ผิดกฎหมายเช่นอดีต ซึ่งจะทําให้สมาชิกในชุมชนมีความมั่นคงในท่ีดินทํากินและไม่ เสี่ยงต่อการถูกจับกุมดําเนินคดีหรือการบังคับโยกย้ายถิ่นฐานเช่นในอดีต
3. ชุมชนมีความตระหนักและให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องที่ดินทํากินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มากขึ้น โดยได้พยายามปรับตัวท้ังในด้านการปรับรูปแบบการทําการเกษตร การพัฒนาอาชีพ เสริมเพื่อให้มีความมั่นคงทางด้านอาชีพและรายได้
4. มีหน่วยงานต่างๆ ท้ังภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจในการสนับสนุนและส่งเสริมงานด้านการ พัฒนาชุมชน การส่งเสริมด้านอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
5. ปัจจุบันกลุ่มป่าแก่งกระจานอยู่ระหว่างการขอข้ึนทะเบียนมรดกโลก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับปรุงระบบการบริหารจัดการพื้นท่ีอนุรักษ์ให้ได้มาตรฐานสูงขึ้น


"ประเด็นความสําคัญเร่งด่วนของภูมิทัศน์"

ผลจากการประเมินการต้ังรับปรับตัวทางด้านสังคม ระบบนิเวศของภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจาน รวมท้ังการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนที่เก่ียวข้องพบว่า มีประเด็นเร่งด่วนของภูมิทัศน์ดังน้ี
5.1 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเรื่องท่ีดินทํากินและอยู่อาศัยของชุมชนให้มีความมั่นคงและ
เกิดสันติสุขต่อระบบนิเวศ
5.2 การปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบการทําเกษตรและผังชุมชนให้มีความยั่งยืนและเอื้อต่อระบบนิเวศ
5.3 การจัดการ บํารุงรักษา ฟื้นฟูและจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน
5.4 สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ อาชีพและรายได้ของสมาชิกใน
ชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีข้ึนบนฐานของความสมดุลและยั่งยืน
5.5 สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม จัดองค์กรในระดับชุมชน มีการกําหนดกฎ กติกา ข้อตกลงให้เกิด
ความโปร่งใสและมีส่วนร่วม

"ยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถในการต้ังรับปรับตัวของภูมิทัศน์ (ผลลัพธ์และตัวชี้วัด)"

•วิสัยทัศน์
ทรัพยากรธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ได้รับการบริหารจัดการอย่างสมดุลและยั่งยืนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนใน ชุมชนท้องถิ่นเพื่อต้ังรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

•กรอบยุทธศาสตร์และมาตรการ
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์กลุ่มป่าแก่งกระจานประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่
ยุทธศาสตรท่ี 1 การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนบนฐานการจัดการร่วมกัน (Co-Management) เพื่อให้เป็นฐานทรัพยากรท่ีมั่นคงในระยะยาว
ยุทธศาสตร์ท่ี 2 การปรับปรุงรูปแบบการใช้ประโยชน์ท่ีดินและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตรที่ยั่ยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้มีความหลากหลายและเพิ่มมูลค่าผลผลิตของท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ท่ี 4 การส่งเสริมการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่นท่ีเก่ียวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการรวมกลุ่มและการจัดระบบภายในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนากลไกการปรึกษาหารือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียเพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นธรรมและสันติ

Kaeng Krachan Forest Complex

Landscape strategy for enhancing resilience capacity of socio-economic and ecological system: Kaeng Krachan Forest Complex, Thailand

The Global Environment Facility has provided academic and budgetary support to large numbers of small projects in Thai communities in order to take actions in line with the scope of international environmental agreements that produce community impacts such as conservation and restoration of biodiversity, development of alternative energy to reduce impacts from climate change, utilization of energy conservation technologies, sustainable forest management, conservation and restoration of international water resources, sustainable utilization of soil and water resources in order to solve soil deterioration and droughts, and promotion of reduction in the use of chemicals in agricultural areas.

Kaeng Krachan Forest Complex (KKFC) is located in the Tenasserim Range, which lies along Myanmar, Ratchaburi, Phetchaburi, and Prachuap Khiri Khan. Kaeng Krachan Forest Complex has been designated as protected areas, which composes of Kaeng Krachan National Park, Kui Buri National Park, Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park, and Mae Nam Pachi Wildlife Sanctuary. The total area of Kaeng Krachan Forest complex is approximately 2,938,596 rai or 4,700 square kilometers. This large forest complex is important to biodiversity conservation and serves as one of the top biodiversity hotspots of the region. It is a watershed of three main water resources namely the Mae Klong River Basin, Phetchaburi River Basin, and the West Coast Basin. Kaeng Krachan Forest Complex is a great habitat for wild fauna and flora species. It is home to 92 local ethnic communities in an area of approximately 52,263.78 rai. These communities primarily work as farmers, freelancers, and merchants. However, their occupations are diverse. There are people who work primarily as freelancers and farmers for earning their livings. Some grow vegetables for household consumption and selling crops for supplementary income. Some families work primarily as farmers and work as general employee when they have free time from farming. In some families, husbands work as farmers or general employees while their wives work as merchants. Some of them receive additional incomes from their children who work in the industrial or private service sectors.

The results of landscape resilience assessment of Kaeng Krachan Forest Complex found that Kaeng Krachan Forest Complex has the potential to support social, economic, and ecological adaptations to a moderate degree (3.15-3.72 points out of 5 points).

1. Landscape Diversity and Ecosystem Protection: According to the findings, the landscape of Kaeng Krachan Forest Complex has a high degree of landscape and ecosystem diversity in addition to being a major global biodiversity hotspot. This area is legally protected by the National Park Act, B.E. 2562 (2019), and the Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2562 (2019). However, the recovery and restoration of this forest area depend on multiple factors such as precipitation, humidity, types of soil, minerals, existing ecosystems, trees and plants, including time of condition changes, utilization or disturbances to local areas. In addition, the western landscape of Kaeng Krachan Forest Complex consists of a high mountain range that absorbs monsoon winds from the Andaman Sea, so this area has a high amount of precipitation and humidity. In contrast, the eastern side is a rain shadow zone, so the recovery of the landscape of Kaeng Krachan Forest Complex differs due to the geographical factors.

2. Biodiversity: According to the findings, Kaeng Krachan Forest Complex is rich in diversity of endangered wild fauna and flora species. The forest complex has a high level of edible plant species, both found in nature and grown in farming systems. Community members are still harvesting, preserving, and cultivating traditional local plants, such as upland rice, Karen chili peppers, sour melons, squashes, eggplants, and palm trees. The trend to preserve traditional agriculture is decreasing due to replacement of cash crops from agricultural companies that are threatening to the traditional agricultural patterns.

3. Knowledge and Innovations: According to the findings, most of the farms in Kaeng Krachan Forest Complex is monocrop farming of important cash crops including pineapple, rubber, oil palm, and sugarcane. However, it was also found that farmers tend to convert their plantation to integrated standing fruit trees, which is more environmentally friendly than monocrop farming. Integrated farms will reduce soil erosion, and risk of product price fluctuations in the market. As for traditional knowledge, there are two ethnic groups (people known locally as "Karang"), namely, Pka K' Nyau Karens and Plow Karens who own traditional knowledge on crop rotation, polyculture, selection and harvest of local seed for next cultivation. In particular, women are knowledgeable and play important roles in managing local biodiversity in farming and forest areas. Especially plant species that can be used for family’s food sources, women know how to farm and maintain those plants as well as methods to select and keep seeds for next cultivation. Meanwhile, men own knowledge on medicinal plants for treating illnesses, methods to modify land for farming and water resources management for agriculture.

4. Governance and Social Equality: According to the findings, Kaeng Krachan Forest Complex is subject to the enforcement of the National Park Act and Wildlife Conservation and Protection Act. Most of the adjacent forest areas are designated as national forest reserves, which are subjected to the National Reserved Forest Act, B.E. 2507 (1964). Therefore, community rights on land, water and other natural resources utilization are restricted due to the aforementioned laws. Limited land rights and other natural resources utilization cause conflicts among local communities, ethnic groups, and government agencies. These people are at risk of arrests, prosecution, and forced relocation from these areas. However, the new National Park Act, B.E. 2562 (2019), and the Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2562 (2019), grant land use and natural resources utilization rights in these conservation areas to local communities living in the protected areas. Communities are requested to register and participate in a community survey and database collection for securing land use rights for farming and living, including legal use of forest products. Nevertheless, community members are granted to get limited access to natural resources and biodiversity, they are subjected to conditions and restrictions by the laws. It is because some community members are non-Thai nationality and no identification cards, therefore they have no rights to get an access to any basic rights and welfares of Thai citizens. Their travel rights are limited, and they need to seek for permission whenever they want to travel out of the area.,

5. Livelihoods and Well-being: According to the findings, basic social and economic infrastructures such as roads, electricity, hospitals, clean water, and communication are available to a moderate degree. Since most of the communities living in the protected areas, the development of various basic infrastructures approval from the Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation by the related laws and regulations. Economically, it was found that most people primarily earned income from farming, livestock, freelance work, community products, trade, textile weaving, wicker ware, and tourism. Young generation of these communities work outside of their villages to earn income from public and private service works. In addition, it was found that the ability of these people to seek for social and ecosystem benefits ranges from moderate to almost low, especially in regards to mobility for farming and living on crop-rotated land in broad areas. Furthermore, most community members are allocated regular plots of land and are required to cultivate persistently, thus causing impacts to soil fertility. In particular, those small farm land at 0.1-3 rai are very limited in regards to land restoration and cultivating crops in new plots.

Since the communities are located in the protected areas, the lands for agriculture and residence are limited. The scope of land use is limited (prohibition of using chemicals and heavy machinery). It is also challenging to develop infrastructures such as roads, electricity supplies, and water facilities in the protected areas.

Regarding threats found in the past and potentially happen in the future in Kaeng Krachan Forest Complex, they exist in many forms include deforestation, poaching, droughts, water shortages, forest fires, smog, floods, landslides, cold spells, plant diseases, economic recessions, arrests, prosecutions, forced migration from communities, conflicts, human rights violations, absence of traditional knowledge and wisdom, loss of biodiversity in agricultural areas, and impacts of human and wildlife conflicts.

Regarding development strategies and the ability to support social, economic, or ecological adaptation of local communities in the Kaeng Krachan Forest Complex,, objectives have been set for sustainable management of natural resources, the environment, and biodiversity at Kaeng Krachan Forest Complex. In addition, some development projects on people’s wellbeing and living conditions in the local communities enable local people to be more resilient and adapt to changes. These include strategies in six areas as follows; 1) conservation and restoration of natural resources, the environment, sustainable management of biodiversity and co-management ; 2) improvement of in land utilization and increase of sustainable and environmentally-friendly agricultural production; 3) livelihood diversification and increase the value of local products; 4) enhancing traditional knowledge and community knowledge on management of natural resources, the environment, and biodiversity; 5) enhancing group establishment and strengthening communities; and 6) development of mechanisms for governance and peaceful management.

Nevertheless, the assessment results and community survey on social and ecological resilience of Kaeng Krachan Forest Complex found that urgent issues are related to land use These are resolutions to the land use for farming and living in the protected areas. Improvements of land utilization, agricultural systems, and sustainable community planning could be implemented while supporting ecosystem management, livelihood, occupations, and income diversification for community members . Moreover, supporting group-forming and the establishment of community organizations with rules, regulations, and agreements to ensure transparency and participation.

Kaeng Krachan Forest Complex is rich in diversity of endangered wild fauna and flora species.

42 communities have settled in the KKFC Landscape, and 50 communities live adjacent to the KKFC’s border. According to the land and resident survey under section 64, National Park Act B.E. 2019 and section 112, Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2562 (2019), the residential zone in Kaeng Krachan Forest Complex covers 52,263 Rai, and home to 92 communities.

The residents in the KKFC Landscape are divided into four groups; 1) Thai people2) Pgaz K'NyauKaren ethnic group (Karang, Pgaz K'Nyau, S'gaw) 3) P'wo Karen ethnic group (Po, Plong, Pow) and 4) other ethnic groups (Song, Lao Krang, Lao Phuan).

"P'wo" is the largest Karen group, who settled in Suan Phueng District, Pong Krating District, Ban Kha District, Pak Tho District, Nong Ya Plong District Kaeng Krachan District, Hua Hin District while "Pgaz K'Nyau" has settled in the highland in Purakam village, Wang Kho village, Hauy Namnak village, Pong Haeng village, Bang Kloy Bon village, Pong Leuk village, Pakoenyo village, Pa La-Oo Noi village and Pa Mak village.

People in the KKFC communities work in agriculture, self-employment, and commerce, respectively. They always have multiple careers. They work as employees to earn their primary income. Besides, they have rice farms and/or vegetable for household consumption and sell some of their agricultural products to earn additional incomes. Some households work mainly in agriculture and part-time jobs. In summary, the careers of people in the KKFC are diverse.

Having more than one job allows people in communities to have more income diversification; for example, during COVID-19 pandemic, people return home to work in agriculture. They could go back in the industrial sectors to work again when the situation gets better.

Landscape and ecosystem diversity and in the KKFC are relatively high (3.8). Most of the landscape consists of high mountains encompassing with dry evergreen forests and mixed forests. Landscape and ecosystems are closely related to biodiversity both wildlife and plants.

Ecosystem protection

Protection by government authorities

The assessment results show that the KKFC ecosystem is effectively protected and managed by government authorities (3.71). Since the KKFC is designated as protected areas, which includes three National Parks and one Wildlife Sanctuary, the KKFC is under management authority of the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation applying the National Park Act B.E.2562 (2019) and Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2562 (2019). Besides, most of the surrounding areas are designated as National Reserved Forest and are therefore protected by Royal Forest Department under National Reserved Forest Act, B.E. 2507 and Forest Act, B.E. 2484. However, the government authorities allow people in the communities to use designated lands in Kaeng Krachan Forest Complex and some land reformed areas by granting them land use permits, such as title deed and utilizing permits. Besides, military authorities (Taskforce Tigers Unit) and Border Patrol Police collaborate with DNP to patrol in the areas since the lands in KKFC are border security areas. in conclusion, the KKFC is legally protected. There are government authorities directly responsible for lands protection.

Protection by communities

The assessment results indicate that ecosystems in KKFC is highly protected by the communities by several approaches. Firstly, community’s living conditions depend on the landscape and protected areas legislation; for example, people always cut the bamboo near the village for their household needs. Secondly, people in the community respect culture and traditions passed from generation to generation (tree worship, village spirit house worship, and rice goddess worship). The community also determines rules and common agreements (the toxic use and electric shock in aquaculture is prohibited). Moreover, it was found that the ecosystem protection by community is unofficial and far from determining community forestry, forest boundaries, rules, regulations, and penalties under the Community Forest Act. Some local traditions and beliefs (beliefs of the chthonic goddess) are the relationship between life and spirit. However, the KKFC communities today have less engagement with nature these days. Therefore, those beliefs and traditions are only normal practices without understanding the real meaning.

2.1.3 Ecological interactions between different components of the landscape

The assessment results indicate that the ecological interactions between different landscape components KKFC are high (3.69), such as the interaction between topology, weather, and ecosystems. The mountainous topology is a natural collision of humid air resulting in high humidity, abundant rainfall, the source of evergreen ecosystems, and the watershed of important rivers like Phachi Phetburi, and Pranburi rivers.

The agricultural land use is the main cause of poorer quality of river ecosystem and waterbody. The mismanaged agricultural activities and no buffer zone management between agricultural land and river cause landslide and shoal river. It also causes water scarcity for consumption during the dry season. During the monsoon season, the community and agricultural lands experienced flood due to heavy rain. On the other hand, the uncontrolled chemical use in agriculture resulted in water pollution and affected freshwater species in the rivers.

2.1.4 Recovery and regeneration of the landscape

The assessment results indicate that the KKFC Landscape is highly recovered and regenerated (3.66) and depends on different factors such as rainfall, humidity, nature of the soil, abundant minerals, surrounding ecosystem, forests, landscape recovery and regeneration time, land use as well as a land disturbance. The KKFC area's topography consists of high mountains in the west, a natural windward slope against the Andaman monsoon, which results in heavy rainfall and high humidity, whereas the eastern area is rain shadow. in conclusion, the recovery and regeneration of the KKFC depend on the landscape.

2.2 Biodiversity (including agricultural biodiversity)

2.2.1 Diversity of local food system

The assessment results indicate that local food biodiversity, both natural grown in the forests and from agricultural system, is relatively high in the KKFC Landscape (3.78). The community's important local foods are bamboo, bracken fern, Gnemon, and mushrooms. The important local foods in agriculture are upland rice, transplanting rice/ paddy-sown rice, chili, cucumber, gourd, marrow, eggplant, bean, sesame, banana, papaya, lime, jackfruit, and durian.

However, the most important local foodis "rice." In the past, rice production was sufficient for people in the community. Today, it is impossible to produce rice sufficiently because the lands for rice-farming is limited due to the land conversion to other types of agricultural plantation and less rice production in each season. Therefore, people in the community always grow other crops and sell in the markets. Some families work and spend money to buy rice for consuming in the household. Some still grow upland rice and paddy-sown rice for consuming in the household each year. Therefore, people in some communities, such as in Ban Pong Leuk community, Ban Bang Kloy community, and Ban Pgaz K'Nyau, cannot economically and financially rely on themselves and are financially stressed. They face economic difficulties since the crop transportation cost is expensive, and they can produce crops less than other communities. In some years, people in the community ran out of money for buying foods because crops' value has decreased. Besides, their crops are damaged by storm and flood and cannot sell them.

People in the community tried to find a solution to this problem by setting up a "Rice Bank " to deposit their rice in the bank. If some family had a rice shortage, they could go to the bank and borrow rice to consume in the household. After the harvest, they give their rice back to the bank. However, the rice bank's operation is discontinued because rice production is insufficient, so there is insufficient rice to deposit.

2.2.1 Maintenance and use of local crop varieties and animal breeds

The assessment result indicates that the maintenance and use of local crop varieties and animal breeds in the KKFC is moderate (2.95). It was found that people in the community preserve and grow local crops such as birds eye's chili, sour melon, gourd, marrow, eggplants, including soft wood plants such as betel nut. However, it was also found that local crop variety has decreased because crop breeds increase production. Moreover, knowledge transfer and techniques in local crop varieties preservation to young generation has decreased

2.2.2 Sustainable management of common resources

The assessment result indicates that the sustainable management of common resources is moderate (3.29). It was found that the management of common resources is closely related to the way of life and awareness of people in the community (for example, people do not use toxin and electric shock in wild-catch fishery, common forestry). However, it was found that people in the community are in need of clear guidelines and regulations or community agreements to manage the common natural resources. Indeed, the communities lack of system to monitor, tackle, and assess natural resources for sustainable use. However, the community has clear management guidelines for buffer zone outside the protected areas, for example, community forest management guidelines registered with the Royal Forest Department, conservation areas for civil use, and public interests. Moreover, the result indicates that sustainable management of common resources in the protected areas will be critical in the future. In this regard, the sustainable management of common resources is stipulated in section 65, National Park Act B.E. 2562 (2019), and section 57, Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2562 (2019), to allow the community to use common natural resources sustainably.

2.3 Knowledge and innovation2.3.1 Innovation in agriculture and conservation practices

Most of the agricultures in the KKFC is mono-crops on seasonal basis. The main crops are pineapple, rubber, oil palm, and sugar cane. It was also found that farmers tend to have integrated perennial crops such as durian, grapefruit, betel nut, banana, papaya, lime, and chili in the same plots. The integrated perennial crops have several advantages. It is more environmentally friendly than mono-crops, prevents landslide and reduces the risk of price fluctuation of the product in the market, so the farmer has a stable income daily, monthly, and annually.

2.3.2 Traditional knowledge related to biodiversity

According to the survey, it was found that two ethnic groups: Pakoenyo Karen (called by locals as "Karang") and P'wo Karen. The two Karen groups own local wisdom on rotational rice farming, integrated vegetable and fruit cultivation. They live in Pong Leuk village, Bang Kloy village, Pakoenyo village, La-Au Noi village located in Kaeng Krachan National Park, and Pa Mak village located in Kui Buri National Park. They collect and select local crop varieties for cultivation.

There are approximately 300 crop varieties in the Karen rotational farm. As arrested by the study on the utilization of herbs in Pong Leuk- Bang Kloy villages, it indicates that Karens own traditional knowledge of the utilization of 293 herbs varieties according to which 181 of them are used as medicaments or tonics, 121 as foods, 41 for daily use, and 6 for ceremony and tradition. Some herbs can be used for several objectives.

2.2.3 Documentation of biodiversity-associated knowledge

It is not clear whether biodiversity-associated knowledge is written in the documents. Most of the agricultural methods are learned from experience and transferred from one generation to generation. The local seeds found in the areas are rice, bird's eye chili, Karen pumpkin, sour melon, and bottle gourd. However, those seeds are endangered and almost lost in the agricultural system because bred seeds replaced them due to better production capacity. However, local biodiversity-associated knowledge is not continually transmitted to the younger generation

2.2.4 Women's knowledge

Women are educated and play an important role in biodiversity management in the agricultural and forest areas, especially local foods for family members. Women always have in-depth knowledge on cultivation, maintenance, seeds selection, and plant propagation, while men are expertise in the use of herbs for medical treatments, land modification for agriculture, and waterbody management for agriculture. Moreover, women in KKFC are highly recognized, as attested by the women being a head of the village, assistant to village headwoman, community leader, and group leaders, such as career development and housewife groups. However, the recognition of women's role is under some certain conditions and depends on the relationship between community leaders, roles in the community, the ability to collaborate between the communities, third parties and their educational backgrounds.

2.4 Governance and social equity2.4.1 Rights to land/water and other natural resource management

The constitution is the supreme law, which guarantees individuals and community rights to sustainably use, manage and conserve the natural resources, environment, and biodiversity. Since most of the areas in the KKFC are administered by Kaeng Krachan National Park, Chaloem Phrakiat Thai Prachan National Park, and Kui Buri National Park under National Park Act, while wildlife conservation areas under Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2507, the rights to land, water and other natural resources management are limited by laws. However, limited rights to lands and natural utilization are the cause of conflict between local communities, ethnic groups, and government authorities for a long time. The Thai locals and ethnic groups are at risk of being arrested, prosecuted and forced to relocate.


In 2018, the National Parks Act, B.E. 2562 (2019) and the Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2562 (2019) were amended and allow individuals and communities to use the lands and natural resources in protected areas, as long as they follow the regulations and procedures prescribed by law. The communities have to register and join the projects under the laws in order to obtain land use rights for agriculture in the KKFC. These regulations and procedures also prioritize the rights to harvest forest products in protected areas, such as bamboo shoots, melientha suavis, bamboo, and fishes. Those two acts determine the regulations and procedures to allow the community to use land, water and natural resources in the KKFC. Regarding the lands in national protected areas, people in the community have rights to use, manage and conserve natural resources and biodiversity only if the areas are designated as "community forestry" under Community Forest Act, B.E. 2562 (2019).

It means that people do not have exclusive rights to use the lands and other natural resources. They have to follow the procedures and conditions prescribed by law to obtain rights to natural resources, environment, and biodiversity management.

2.4.2 Landscape Community-based landscape governance

The assessment results indicate that the community-based landscape governance is moderate. There are informal community groups in the KKFC, such as a village, community, and formal community groups such as community enterprise, community organization group/association. The formal groups legally established includes villages, community enterprises, cooperatives, farmers’ associations, associations, foundations, and community organizations, whereas informal community groups are communities, groups, or clubs.

An example of informal community groups is the Sarika and Mae Kanoey Bon communities. People from different villages live in these two communities and share common lands together. Therefore, the village boundaries and land-use areas are overlapped. However, the lands are administered for common objectives of the two communities.

The formal community groups are legally established by formal administrative regulations and guidelines, is exemplified by the community management community leaders. The community committee is responsible for community management and development under the Ministry of Interior. However, there are no rules, regulations, and guidelines in natural resources, environment, and biodiversity management and a clear scope regarding natural resources utilization. Most of the rules and regulations are set based on the law and traditions; for example, it is prohibited to use toxin and electric shock in wild-catch fishery.

2.4.3 Landscape (Social capital in the form of cooperation across the landscape)

Regarding social capitals, people in the community established and participated in various groups such as career groups, tourist groups, women groups, homemakers, and fund-saving groups. However, it is not clear whether a specific group is established for being responsible for natural resource management.

2.4.4 Social equity, including gender equity

The assessment result indicates that the level of social equity, including gender equity, in communities in the KKFC, is moderate (3.46). People in the community can access natural resources and biodiversity under specific conditions and limitations. Moreover, certain groups in the community, such as some women cannot get access to natural resources, education, information, and decision-making procedures at household and community levels.

Poverty, impossibility to improve livelihood, career, and income

Since the communities are located in the protected areas, the lands for agriculture and residence are limited. The scope of land use is limited (prohibition of using chemicals and heavy machinery). It is also challenging to develop infrastructures such as roads, electricity supplies, and water facilities in the protected areas.

Some community members, particularly the new generation of extended families do not own the land for agriculture and residence and do not have sufficient lands.

Some community members do not have Thai nationality and Thai National ID cards, which make it more difficult to get an access the government welfares. The rights to travel are limited (Travelling outside the community requires prior permission). People cannot get access to government services and welfares, such as public health (30 THB for all public services provided by the government agencies), elderly monthly allowance, and child monthly allowance.

Poverty is the main challenge to equal education, even though the state provides special education to children in the remote villages.

Communication barriers between third parties and ethnic groups.

2.5 Livelihoods and well-being 2.5.1 Socioeconomic infrastructure

The assessment results indicate that the socioeconomic infrastructures such as road, electricity, hospitals, irrigation, and communication infrastructure is moderate (3.22). As most community areas are located in the protected areas, the infrastructure must be developed by legal guidelines and procedures by related laws and regulations. However, the basic infrastructure, mostly water and transportation in some communities such as Pong Leuk, Bang Kloy, Sarika, Mae Kamoey Bon, Bang Kama, Ban, and Pakoenyo communities, need to be urgently developed.

2.5.2 Human health and environmental conditions

The assessment results indicate that the level of human health and suitable environmental conditions is high (3.76). No endemic or severe pandemic affects people's health in the community, except the seasonal diseases such as influenza, dengue, and malaria. People in the community live in suitable environmental conditions. The air is not polluted. However, people are facing water scarcity and drought during the dry season. During this time, the pollution from forest fire smoke always affects people's health.

2.5.3 Income diversity

The assessment results indicate that the level of income diversity is moderate (3.39). The primary income of people in the community comes from agriculture, livestock, vocational jobs, community products (textile and wickerwork),commerce, hospitality service (tourist management), and the salary of their children working outside of the villages, respectively.

2.5.4 Biodiversity-based livelihoods

The assessment results indicate that the biodiversity-based livelihoods are moderate (3.07). The government organizations and NGOs have several projects to develop livelihood improvement in the community such as local textile, community-based tourism, and smart agricultural products (coffee, dried banana, dried fishes, pickled fish, and pickled shrimps) and aquaculture. Moreover, development of biodiversity-based products for local people in KKFC is potential. They have agricultural product processing to increase the value of products. Moreover, another potential for these communities is community-based tourism. However, a range of knowledge and skills in processing techniques for product development, marketing (online marketing, packaging and business match), group management (group, financial and accounting management) are in need.

2.5.5 Socio-ecological mobility for social and ecological benefits

The assessment results indicate that socio-ecological mobility for social and ecological benefits is moderate and relatively low (2.56), especially the mobility for agriculture and residence, such as rotational farming in an extended area. Since people in the community own the same land permanently, they have to grow mono-crop year after year on the same lands. Monocropping affects the quality of the soil. Moreover, only a few lands are allocated to people (0.13 rai). Therefore, land recuperation is limited and makes it impossible to harvest in the new lands.

According to the former law, using renewable natural resources or forest products in the protected areas is legally prohibited. However, the officials cannot prohibit people in the community to use the lands since there are no definite rules and regulations on lands use. However, the operations and procedures to use natural resources sustainably are prescribed in section 65, National Park Act B.E. 2562, and section 57, Wildlife Conservation and Protection Act, B.E. 2562. The use of natural resources must not cause degradation of landscape, carrying capacities of the landscape and natural resource.

17

Projects

92

Villages

86.83

Total area / sq km

Power in Numbers

Project Gallery

bottom of page