Mea Lao River Basin : ลุ่มน้ำแม่ลาว
ยุทธศาสตร์ภูมิทัศน์เพื่อสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์เชิงสังคม เศรษฐกิจและระบบนิเวศ ลุ่มน้ำแม่ลาว จ.เชียงราย
โครงการจัดการภูมิทัศน์เพื่อสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์ทางด้านสังคม เศรษฐกิจและระบบนิเวศ โดย UNDP/GEF SGP ในแผนงานโครงการขนาดเล็กโดยชุมชนของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ในรอบทุนที่ 6 (Sixth Operational Phase of the GEF Small Grants Programme in Thailand) มุ่งที่จะสร้างขีดความสามารถ ขององค์กรชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและการสรุปบทเรียนอย่างเป็นระบบในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการภูมิทัศน์ที่เหมาะสมและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรักษาความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศ โดยกําหนดพื้นที่เป้าหมายใน 4 ภูมิทัศน์ซี่งเป็นตัวแทนในแต่ละภาคของประเทศไทย โดยในเขตภาคเหนือได้กําหนดพื้นที่ลุ่มน้ําแม่ลาว จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่เป้าหมาย
ลุ่มน้ําแม่ลาว จังหวัดเชียงราย พื้นที่เป้าหมายการดําเนินงานถูกคัดเลือกเป็นตัวแทนพื้นที่ของภาคเหนือ ในการดําเนินงานมีพื้นที่ครอบคลมุ 6 อําเภอของจังหวัดเชียงราย 330 หมู่บ้าน ประชากร 247,284 คน ประกอบด้วยชนเผ่ากะเหรี่ยง อาข่า มูเซอและคนเมืองมีลักษณะเป็นพื้นที่ภูเขาสูง ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชนท้องถิ่นทั้งกลุ่มชาติพันธุ์และคนเมืองซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของรัฐ ทําให้ชุมชนเหล่านี้ตกอยู่ในฐานะผู้อยู่อาศัยในเขตป่าอย่างผิดกฎหมาย ปัจจุบันในเขตพื้นที่ลุ่มนํ้าแม่ลาวกําลังประสบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกับพื้นที่ลุ่มนํ้าต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือคือปัญหาข้อจํากัดในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ เนื่องจากการใช้งบประมาณในการพัฒนาพื้นที่จึงต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดีกรมป่าไม้หรือคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน นํ้า ป่า จากระบบการบริหารจัดการที่ขาดการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การใช้ที่ดินเพื่อการผลติที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยใช้สารเคมีและการเผาในกระบวนการเพาะปลูก ทําให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ดินเสื่อมโทรม ปัญหาพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมและลดลง ซึ่งส่งผลกระต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาส ปัจจุบันชุมชนในเขตลุ่มน้ําแม่ลาวตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ด้วยข้อจํากัดของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่กําหนดวิสัยทัศน์และยทุธศาสตร์การบริหารจัดการภูมิทัศน์แบบบูรณาการ ไม่มีขีดความสามารถในการดําเนินงานและด้วยข้อจํากัดด้านความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทุนเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง และขาดความร่วมมือในการผสานพลัง การทํางานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปัญหาต่าง ๆ จึงมีแนวโน้มทวีความรุ่นแรงยิ่งขึ้น
การดําเนินงานเพื่อสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์ลุ่มนํ้าแม่ลาวทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศโดย UNDP/GEFSGP จึงมุ่งเน้นการพัฒนายทุธศาสตร์การจัดการภูมิทัศน์ร่วมกับผู้หญิง องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ลุ่มน้ําแม่ลาว รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทํายุทธศาสตร์ร่วมกันโดยภาคประชาสังคมเห็นตรงกันถึงปัญหาหลักในพื้นที่ในประเด็น "การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ํา ป่า ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ําแม่ลาวจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสมและขาดการผสานพลังในการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างมีส่วนร่วม" เพื่อขับเคลื่อนการทํางานในการแก้ไขปัญหา จึงได้ร่วมกันจัดทําวิสัยทัศน์ในการพัฒนาลุ่มนํ้าแม่ลาวขึ้นดังนี้
"ประชาชนในเขตลุ่มนํ้าแม่ลาว จังหวัดเชียงราย มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเสมอภาคของผู้หญิงและชายจากการประกอบอาชีพทางเลือก การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพด้วยระบบการจัดการร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมในการจัดการ" โดยมียุทธศาสตร์การ ทํางานที่จะนําไปสู่เป้า หมาย 4 ประเด็นคือ (1) เพิ่มขีดความสามารถของระบบนิเวศจากการอนุรักษ์ป่า อย่างน้อย 75,000 ไร่ ด้วยกระบวนธรรมาภิบาลการจัดทรัพยากรร่วมกัน (2) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากระบบการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่อย่างน้อย 3,000 ไร่ ด้วยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) การพัฒนาอาชีพทางเลือกจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและรายได้สําหรับกลุ่มผู้หญิงและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
(4) พัฒนาองค์กรและระบบบริหารจัดการของชุมชนที่มีธรรมาภิบาลด้วยการบริหารจัดการแบบ Adaptive Management
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ได้ผลักดันให้ชุมชนที่อยู่อาศัยและพึ่งพาระบบนิเวศในการดํารงชีพเกิดความสูญเสียความสามารถของระบบนิเวศหรือภูมิทัศน์ในการรองรับปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและระบบนิเวศ การดําเนินในพื้นที่นําร่องตามกแนวทางการสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวทางนิเวศและสังคม(Socio-EcologicalProductionLandscapeandSeascape- SEPLS)ของUNDP/GEFSGPซึ่งจะเป็นต้นแบบการจัดการภูมิทัศน์ในเขตพื้นที่สูงสําหรับชมุชนและต้นแบบในการปรับปรุงกฎหมายและนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
แม่ลาวเป็นลำน้ำสายสำคัญของจังหวัดเชียงราย มีต้นกำเนิดน้ำบริเวณดอยนางแก้ว เทือกเขาผีปันน้ำตะวันตกในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า ติดต่อจังหวัดเชียงใหม่บริเวณตอนบนของอำเภอดอยสะเก็ด ไหลผ่านพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดเชียงรายได้แก่ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และบางส่วนของอำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ลุ่มน้ำแม่ลาวมีลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ น้ำแม่โถ น้ำแม่เจดีย์ น้ำแม่ฉางข้าว น้ำแม่ปูนหลวง น้ำแม่ต๋ม น้ำแม่ยางมิ้น น้ำแม่ตาช้าง น้ำแม่สรวย และน้ำกรณ์น้อย โดยน้ำแม่ลาวไหลลงสู่น้ำกก ที่ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย ก่อนไหลลงสู่น้ำโขง โดยสายน้ำแม่ลาวมีความยาวประมาณ 210 กิโลเมตร
ประชากรในเขตลุ่มน้ำแม่ลาว ประกอบด้วยชุมชนชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง อาข่า ละหู่ และคนพื้นเมืองภาคเหนือ สภาพภูมิประเทศทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน ซึ่งมีความลาดชันเฉลี่ย 48.42% พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบเขามีพื้นที่รวมประมาณ 60% พื้นที่เกษตรกรรม 35 % ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัยพื้นที่สาธารณะประโยชน์ประมาณ. 5% ของพื้นที่ลุ่มน้ำ
ตลอดสองฝั่งน้ำแม่ลาว เป็นพื้นที่ราบและถิ่นที่อยู่อาศัยจของชุมชนคนพื้นเมือง ประกอบอาชีพทำนา ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว สวนป่า สวนยางพาราและประกอบธุรกิจต่างๆ ตลอดทางน้ำแม่ลาว มีลำน้ำสาขาน้ำแม่ลาวที่สำคัญจำนวน 13 สาย ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ปลูกกาแฟ ชาสายพันธุ์ท้องถิ่น ข้าวไร่ ข้าวในระบบนาขั้นบันได และพื้นที่ในระบบเกษตรผสมผสาน
คุณภาพน้ำแม่ลาว จากการวัดค่าพิเอช แอมโมเนีย ไนโตรเจน และแมงกานิส บริเวณจุดสูบน้ำดิบของการประปาเทิง พบว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี มีปริมาณสารเจือปนต่างๆ ในปริมาณต่ำ แต่ยังพบการกัดเซาะหน้าดินและการชะล้างตะกอนดินที่มีผลต่อคุณภาพน้ำแม่ลาว ซึ่งมีปริมารณสารแขวนลอย ความขุน และเหล็กเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน
ทรัพยากรป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นป่าผสมผลัดใบ ประเภทป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าไม่ผลัดใบ ประเภทป่าดิบเขาและป่าสน ไม้ที่สำคัญที่พบได้แก่ ไม้สัก เต็ง รัง ประดู่ ตะเคียน มะค่าโมง เป็นต้น สัตว์ป่าในพื้นที่ที่พบได้แก่หมูป่า ไก่ป่า กระรอก นกชนิดต่างๆ ไม่พบสัตว์ป่าขนาดใหญ่ในพื้นที่เนื่องจากพื้นที่ป่าในเขตลุ่มน้ำมีขนาดพื้นที่ไม่กว้างและมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนท้องถิ่นกระจายตัวอยู่ในเขตและรอบเขตพื้นที่ป่า รวมทั้งเคยมีการสัมปทานป่าไม้จนสัตว์ป่าหายไปอย่างมาก
ชุมชนต่างๆในเขตพื้นที่ต่างมีระบบการจัดการป่าตามวัฒนธรรมความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยจะมีการกำหนดเขตพื้นที่ป่าในบริเวณชุมชนออกเป็นพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ป่าใช้สอย แต่พบว่าในปัจจุบันระบบการจัดการดังกล่าวของชุมชนจำนวนมากไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐ ขาดความเข้มแข็งและสูญหายไป ในส่วนการจัดการพื้นที่ป่าโดยรัฐในเขตจังหวัดเชียงราย รัฐได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2531 จำนวน 12 ป่าเนื้อที่รวม 2,169,354 ไร่ และประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง พื้นที่รวม 547,250 ไร่ ซึ่งเป็นผลให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์และคนเมืองที่อยู่อาศัย และทำมาหากินอยู่ในเขตพื้นที่สูงที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ ถูกประกาศเป็นพื้นที่ป่าตามกฎหมายโดยไม่มีกันเขตชุมชนออกจากพื้นที่ป่าที่รัฐประกาศ การบริหารจัดการป่าของรัฐในอดีตที่เน้นการประกาศเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมาย ไม่ยอมรับสิทธิชุมชนท้องถิ่นในการจัดการป่าและบริหารจัดการป่าโดยขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น นำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชนท้องถิ่น ขาดประสิทธิภาพในการจัดการ ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ชุมชนในเขตป่าถูกจำกัดสิทธิในการพัฒนาด้านต่างๆ จึงยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ขาดความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการของรัฐ
ลุ่มน้ำแม่ลาวมีความสำคัญและเป็นตัวแทนของภูมิทัศน์ในเขตภาคเหนือ ที่สะท้อนถึงบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภูมิทัศน์ต่างๆ ในภาคเหนือ เพราะลุ่มน้ำแม่ลาวเป็นลำน้ำที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงรายประมาณ 35% น้ำแม่ลาวไหลลงไปบรรจบกับน้ำกก และไหลลงสู่น้ำโขง แหล่งน้ำสากลสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลุ่มน้ำแม่ลาว มีองค์ประกอบของภูมิทัศน์ที่หลากหลายทั้งประเด็นด้านความหลากหลายของสภาพภูมิประเทศ ทั้งมีพื้นที่ภูเขาสูงชัน พื้นที่ภูเขาสลับที่ราบ ที่เนินเขา และที่ราบลุ่ม ด้านความหลากหลายของการการประกอบอาชีพ ทั้งอาชีพทางการเกษตรที่หลากหลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่และอาชีพนอกภาคการเกษตร รวมทั้งความหลากหลายของทรัพยากรป่าไม้ซึ่งสะท้อนสะภาพภูมิทัศน์ของพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือ ลุ่มน้ำแม่ลาวยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ และความหลากหลายของวิถีการดำรงชีพ และตกอยู่ในภาวะความกดดันจากนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของรัฐ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์เชิงสังคม เศรษฐกิจ และนิเวศ
การดำเนินงานพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์โดยกระบวนการบริหารแบบ Adaptive Management ภายใต้การดำเนินงานโดย GEF SGP จะเป็นการทำงานที่จะสร้างรูปธรรมการตั้งรับปรับตัวเชิงนิเวศและสังคม ในระดับชุมชน ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาวในลักษณะภูมิทัศน์ขนาดเล็ก สู่ภาพรวมของภูมิทัศน์ลุ่มน้ำแม่ลาวที่ครอบคลุมพื้นที่และประชากรจำนวนมาก จึงเป็นต้นแบบการทำงานในระดับปฏิบัติการจากการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การสรุปบทเรียนอย่างเป็นระบบในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริการจัดการภูมิทัศน์ที่มีความเหมาะสมและปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ที่จะนำไปสู่การขยายผลในแนวราบสู่ชุมชนเครือข่าย ชุมชนในพื้นที่สูงของประเทศไทย และแนวดิ่งสู่ระดับนโยบาย ทั้งนโยบายระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และประเทศ เพื่อสร้างและดำรงรักษาความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศ
ลุ่มน้ำแม่ลาว เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ และความหลากหลายของวิถีการดำรงชีพ และตกอยู่ในภาวะความกดดันจากนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ของรัฐ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์เชิงสังคม เศรษฐกิจ และนิเวศ
จากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มย่อย และร่วมเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับตัวแทนชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุปถึงปัญหาที่หลักของพื้นที่ คือ การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ลาว โดยมีสาเหตุหลายด้านด้วยกัน อาทิ ความหลากหลายในการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีมากมายแต่ไม่สามารถจะเชื่อมโยงประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งความหลากหลายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากฐานวัฒนธรรมที่ต่างกัน การขาดความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและภาครัฐจนนำมาซึ่งความขัดแย้ง
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าในเขตลุ่มน้ำแม่ลาว และในภาพรวมของจังหวัดเชียงราย ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่พื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ยังคงตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเสื่อมโทรม จากปัญหาที่สำคัญ เช่น ปัญหาไฟป่าที่ขาดการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งไฟป่าทั้งหมดเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งจาก ไฟที่รุกลามจากกระบวนการผลิตทางการเกษตร ไฟป่าที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในชุมชน หรือความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ การใช้ประโยชน์ป่า และไฟป่าที่รุกลามมาจากพื้นที่ใกล้เคียง การขยายพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด มันสำประหลัง ซึ่งในกระบวนการเพาะปลูก มีการเผาทำลายวัชพืชและเศษซากพืช ทั้งในกระบวนการเตรียมพื้นที่และช่วงการเก็บเกี่ยว กำจัดเศษซากพืชในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังมีการขยายพื้นที่การปลูกโดยการบุกรุกป่าเนื่องจากต้องการเพิ่มผลผลิต และขาดกลไกความร่วมมือ และระบบบริหารจัดการป่าอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันทั้งในระดับชุมชน และระดับเครือข่ายลุ่มน้ำสาขา และลุ่มน้ำแม่ลาว ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน
อีกทั้งปัญหาจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรในเขตลุ่มน้ำแม่ลาว ที่เป็นปัจจัยหลักและสร้างผลกระทบต่อลุ่มน้ำแม่ลาวคือ การเปลี่ยนแปลงจากระบบไร่หมุนเวียน ระบบการปลูกข้าว และพืชเพื่อยังชีพ สู่ระบบเกษตรเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีตลาดแน่นอนและมีราคาที่ได้รับการประกันราคาขายจากรัฐบาล ทำให้ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมามีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดทดแทนระบบการเกษตรแบบเดิม ซึ่งผลให้เกิดปัญหาที่สำคัญคือ ความเสื่อมโทรมของดิน และการกัดเซาะพังทะลายของหน้าดิน เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำแม่ลาว เป็นพื้นที่ลาดชันสูง จึงมีความเสี่ยงต่อปัญหาการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน และเมื่อการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำมีการเปิดพื้นที่ เผากำจัดวัชพืช และใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนมากในการเพาะปลูก ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ มีลักษณะแข็งตัวไม่อุ้มน้ำ เมื่อฝนตกลงสู่พื้นที่ลาดชันและถูกเปิดโล่งจึงทำให้เกิดการชะล้างพังทะลายของหน้าดินไหลลงสู่ลำน้ำทำให้สูญเสียหน้าที่อุดมสมบูรณ์ และยังก่อให้เกิดปัญหาตะกอนดินทับถมในลำห้วย ทำให้ล้ำน้ำตื้นเขินและไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ รวมทั้งปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการท่องเที่ยวในพื้นที่ และนำไปสู่ปัญหาภาระหนี้สินจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการผลิตจึงจำเป็นต้องอาศัยสารเคมีจำนวนมาก ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนสูงขึ้น และเมื่อต้องการเพิ่มรายได้โดยไม่เพิ่มต้นทุนแนวทางที่เกษตรกรเลือกใช้คือการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเพราะปลูก เช่น การบุกรุกป่า หรือการเปลี่ยนพื้นที่เกษตรแบบเดิม
กระนั้นในพื้นที่ก็ยังมีความพยายามปรับรูปแบบการเกษตรที่ประสบกับปัญหาข้างต้นสู่ระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถตอบสนองต่อความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจได้ ซึ่งหลายชุมชน เช่น ชุมชนในเขตำบลวาวี ชุมชนบ้านแม่จันใต้ กับการผลิตกาแฟ ชุมชนบ้านหินลาดใน กับการสร้างอาชีพจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนและระบบไร่หมุนเวียน แต่เกษตรกรจำนวนมากยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากนักเนื่องมาจากไม่สามารถพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้เพราะอาศัยอยู่ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ไม่มีระบบการจัดการน้ำ และไม่มีทุนเริ่มต้นในการดำเนินการปรับระบบการเกษตร และเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และอยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จึงไม่สามารถการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบธนาคารหรือโครงการการพัฒนาจากรัฐ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ และปัญหาสำคัญที่หลายชุมชนพบเหมือนกันคือ "การตลาด" เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ และทักษะด้านการตลาด แม้จะมีผลผลิตที่ดี แต่กยังขาดทักษะในการพัฒนาสินค้า โดยเฉพาะในประเด็นผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเฉพาะ การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า การศักยภาพในการทำ Online
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจัดการภูมิทัศน์ โดยในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ลาว ผลกระทบจากการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ภาวะความแห้งแล้ง และภาวะน้ำท่วมน้ำหลากในช่วงฤดูฝน ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ปรากฎชัดเจนในระดับพื้นที่คือการเปลี่ยนแปลงการตกของฝน กล่าวคือ ฝนมีรูปแบบการตกเปลี่ยนไปโดยจะมีการตกเฉพาะที่อย่างหนักในช่วงเวลาสั้นๆ และทิ้งช่วง ส่งผลให้ในช่วงที่ฝนตกจะเกิดปัญหาน้ำหลาก และเมื่อฝนทิ่งช่วงจะเกิดภาวะความแห้งแล้ง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตกของฝนนี้ทำให้เกษตรกรไม่สามารถคาดการณ์เพื่อวางแผนการเพาะปลูกได้ นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนบนที่สูงส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการเกษตรทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบเกษตร ความผันแปรของอุณหภูมิในรอบวันยังส่งผลต่อระบบการผลิตและวิถีชีวิตเช่นกัน โดยจากการสังเกตของผู้ให้สัมภาษณ์ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในรอบวันที่มีความผันแปรสูงซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของเด็กและผู้สูงอายุ และการเจริญเติบโตของพืช
เป้าหมายระยะยาวของยุทธศาสตร์ภูมิทัศน์ ลุ่มน้ำแม่ลาว....
เป้าหมายระยะยาว ใน 10 ปีข้างหน้า : ประชาชนในเขตลุ่มน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเสมอภาคของผู้หญิงและชาย มีอาชีพที่หลากหลายจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ จากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
เป้าหมายในระยะเวลา 5 ปี : : ชุมชนท้องถิ่นในเขตลุ่มน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ดำเนินการอนุรักษ์และใช้ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่ลาว และคณะทำงานระดับลุ่มน้ำแม่ลาวอย่างมีส่วนร่วม โดยมีการป้องกันฟื้นฟูพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำอย่างน้อย 74,250 ไร่ (การบริหารจัดการโดยกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองภายใต้ (ICCAs) ที่มีแผนการใช้และแผนการบริหารจัดการที่ดิน การอนุรักษ์ และข้อตกลงในการบริหารร่วม (Co-management) ในบริเวณที่เป็นพื้นที่คุ้มครองของรัฐ อย่างน้อย 54,250 ไร่) อนุรักษ์ดินและน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริทบของพื้นที่ในพื้นที่อย่างน้อย 3,000 ไร่และมีพื้นที่เกษตรกรรมในรูปแบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3,000 ไร่ ซึ่งสามารถคำนวนศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนร่วมอย่างน้อย 1 ล้านตันคาร์บอน โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างน้อย 30 ชุมชน ประชากรหญิงอย่างน้อย 1,100 คน ประชากรชายอย่างน้อย 1,300 คน ภายใน 5 ปี
การขยายผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการภูมิทัศน์ลุ่มน้ำแม่ลาว นั้นมีแนวทางการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ การขยายผลในแนวราบ จากเกษตรกรสู่เกษตรกร จากชุมชนสู่ชุมชน และจากลุ่มน้ำสู่ลุ่มน้ำ ทั้งในภูมิทัศน์ลุ่มน้ำแม่ลาว และภูมิทัศน์ในเขตพื้นที่สูงของประเทศไทย ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามธรรมชาติ ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการกับสมาชิกในชุมชน ผ่านเวทีการประชุมนำเสนอผลงาน ประสบการณ์และบทเรียนของคณะทำงานโครงการต่อที่ประชุมหมู่บ้าน เครือข่ายองค์กรชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม ผ่านสื่อในช่องทางต่างๆ ที่โครงการจะเข้าไปมีส่วนร่วม
ส่วนการขยายผลในแนวดิ่ง จากชุดประสบการณ์ บทเรียนและข้อเสนอแนะที่ได้จากการดำเนินงานโครงการของ โครงการแต่ละโครงการในชุดโครงการระดับภูมิทัศน์ลุ่มน้ำแม่ลาวสู่ระดับต่างๆ ได้แก่ การขยายผลสู่ระดับท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดทำเอกสารสรุปบทเรียนการทำงาน กรณีศึกษา และการนำเสนอโดยคณะทำงานโครงการต่อที่ประชุมในระดับหมู่บ้าน และที่ประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบล และแผนพัฒนาตำบล เพื่อให้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นพิจารณาและจัดทำยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาตำบล ที่ส่งเสริมการจัดการภูมิทัศน์ เพื่อสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อไป
ในระดับภูมิภาคผ่านเครือข่ายการทำงานของภาคประชาสังคม และเครือข่ายการทำงานร่วมของภาคประชาสังคมกับภาครัฐ คณะทำงานโครงการจากชุมชนและเครือข่ายความร่วมมือในการสนับสนุนการทำงานโครงการของชุมชน GEF OP6 ซึ่งร่วมทำงานกับเครือข่ายภาคประชาสังคม และเครือข่ายกับภาครัฐในระดับภาค เช่น เครือข่ายงานด้านการจัดการป่าชุมชน เครือข่ายงานด้านการจัดการที่ดินในเขตป่าตาม พรบ.คทช พรบ.อุทยานแห่งชาติ 2562 มาตราที่ 64 และ 65 เครือข่ายงานด้านการจัดการไฟป่า เครือข่ายงานพัฒนาด้านการระบบเกษตรยั่งยืน จะนำประสบการณ์ องค์ความรู้และข้อเสนอจากการทำงานนำเสนอ และผลักดันให้แนวทางการจัดการภูมิทัศน์เพื่อสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์ทางการเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศ เป็นประเด็นการทำงานของเครือข่ายต่างๆ ต่อไป
และในระดับนโยบาย โครงการ SGP ในระดับประเทศประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่าย นำผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ในภูมิทัศน์ การวิเคราะห์และสรุปประสบการณ์บทเรียน การจัดทำกรณีศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ผลลัพธ์ของการเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวของภูมิทัศน์ใน 4 ด้านประกอบด้วย การเพิ่มขีดความสามารถของระบบนิเวศ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิตที่ยั่งยืน การพัฒนาช่องทางอาชีพที่หลากหลาย และการพัฒนาองค์กรและระบบการจัดการที่มีธรรมาภิบาล เพื่อนำเสนอสู่ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ใช้พิจารณาในการปรับปรุงหรือกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมการจัดการภูมิทัศน์บนพื้นที่สูงของประเทศไทย ผ่านกระบวนการสื่อสารผ่านสาธารณะชน สื่อมวลชน และผ่านเวทีหารือทางนโยบาย (Policy Dialogue) กับผู้มีอำนาจในการเสนอ และกำหนดนโยบาย
Mae Lao River Basin
Landscape strategy for enhancing resilience capacity of socio-economic and ecological system: Mealao River Basin, Thailand
Landscape management project aims to build up capacity in order to create socio-economy and ecological resilience and is implemented by UNDP/GEF SGP in the Sixth Operational Phase of the GEF Small Grants Programme in Thailand. The goal is to build up the capacity of community organizations through learning process and sum up the lessons learned systematically. The landscape management strategy is developed appropriately and adaptive according to the changing of situations in order to create socio-economy and ecological resilience. Four target landscapes are determined in each part of Thailand. For the northern part of the country, Maelao river basin is chosen as the target area.
In contextual, the northern part of Thailand covers 171,983.6 square kilometers, consists of 17 provinces, and total population for this region is 12.1 million people. Geographically is mountainous with many valleys. Towns and bigger communities are formed in the basins whereas highlands are occupied by different ethnic groups. The mountainous areas are still mainly different types of forests; deciduous forest, mixed forest, dry evergreen forest, rainforest, and pine forest. Rare wild animals are still found such as tigers, elephants, bears, hornbills, peacocks, etc. Recorded data of Forestry Department in 2019 shows 90,227.7 square kilometers of the northern part of Thailand is forest areas which is 52.42% of total forest areas in Thailand. The main rivers meet Mae Kong River are Kok river, Ing river, Maelao river, and Maesai river. Other rivers that flow into Chaopraya River are Ping, Wang, Yom, and Nan rivers. Those that flow into Salawin River are Yuam, Pai, Moey rivers. There are a lot of small rivers that form one big river, most of them are from the mountainous areas where different minority groups live such as Karen, Lua, Mhong, Akha, Lahu, etc. The lower elevation in the valleys are the areas where ethnic northern Thais (Lanna Thais) live and form communities.
Maelao River basin in Chiangrai Province is chosen as the target implementation area as the representative area of northern Thailand. It covers 6 districts in Chiangrai province. There are altogether 300 villages and total population number is 247,284. The people living in this river basin are mainly ethnic groups such as Karen, Akha, Lahu, and some ethnic Thai as well. Majority of the land is mountainous with different types of forests, meaning they are forest-dependent people forming the communities in the forests where most of these areas have been declared by the national law so it means these people live illegally in the forests. At the moment, people living in Maelao river basin are facing quite similar problems as those living in other river basins in the northern part of Thailand. There is limitation in developing basic infrastructure because in order to do so it needs approval of the budgets from the head of Forestry Department or the National Park committee first. Moreover, there is the degradation of natural resources. Soil, water, and forest are not managed in the integration way using participatory approach by local communities. Agricultural practices affect soil quality because of chemicals being pumped into the ecosystem, as well as burning as a part of cultivation process. As a result, it loses biodiversity, soil depletion, forest degradation which leads to climate change. People in Maelao river basin communities do realize about the problems and the negative impact. But, because of the limitation of the communities and local administration organizations, as well as the lack of vision and without integration landscape management, not enough capacity, limitation of knowledge innovation and technology, not enough funds for making the initial change, and the lack of cooperation in working together among different beneficiaries, all these lead to the more and more intensity of the problems.
The implementation on capacity building in order to create socio-economy and ecological resilience in Maelao river basin landscape by UNDP/GEF SGP focuses on developing landscape management strategy with different parties such as women’s groups, communities’ organizations, local administration organizations, governmental and non-governmental organizations working in Maelao river basin. All work together in collecting information, make data analyzing, and come up with the strategy together. They all see the main problems in this area and it is natural resources degradation. Soil, water, and forests which are the basic needs of people living in Maelao river basin. It is because of lands are not being used appropriately and without enough participatory conservation and restoration efforts. In order to solve the problems, Maelao river basin development vision has been created together; “People in Maelao river basin of Chiangrai province have good life quality, with equity between males and females in doing alternative careers, at the same time conserve and make use of biodiversity by co-management of involved parties, adapt the knowledge, local wisdom and innovation in doing so”. The implementation strategy focuses on 4 points; (1) Capacity building in natural resources management and conservation, at least 75,000 rai. (2) Increase the effective of environmentally friendly agricultural practices, at least 3,000 rai by adapting and combining innovation with local wisdom. (3) The development of alternative careers by making use of biodiversity in order to create food security and income for women’s groups and community enterprises. (4) Develop the organizations and good governance management system using Adaptive Management.
The changing of the economic, social, and ecological situations nowadays affects the livelihood of forest-dependent people. It creates the unbalancing of the ecosystem and landscape because of these changes. The pioneer Socio-Ecological Production Landscape and Seascape-SEPLS project in the target areas of UNDP/GEF SGP would be prototype for landscape management of communities in the highlands and would be also the prototype for improving the laws and policies on natural resources and environmental management.
Government-community cooperation is the solution to sustainable resource management.
Description of the target landscape. Maelao River is the main river of Chiangrai province. It originates from Doinangkaew mountain which is a part of western Peepunnam mountain range and is in Wiengpapao district. It connects with the upper part of Doisaket district of Chiangmai province. This river runs through 6 districts of Chiangrai province; Wiengpapao, Maesroy, Maelao, some parts of Paan district, Muang, and Wiengchai district. There are many smaller rivers forming Maelao River which are Maeto river, Maejaydee river, Maechangkao river, Maepoonluang river, Maetom river, Maeyangmin river, Maetachang river, Maesroy river, Kornnoi river. Eventually Maelao river flows into Maekok river at Robwieng sub-district in Muang district because making its way to meet Maekong river. In total, Maelao river is 210 kilometers long.
Maelao river basin covers 2,798.42 square kilometers or 1,749,014 rai. The elevation is between 380 and 2,060 masl. Annual average rainfall is between 1,050 and 1,300 mm./ year. Maelao river flows all year round. There is more amount of water during the rainy season. But, there is less water in the dry season. Total population living 22 sub-districts, 330 villages, 96500 households is 247,284 people and 121,169 of them are females. The survey of National Statistics Office between 2011 and 2015 shows the results that average household income was 13,497 baht/ month and 10% of population in Maelao river basin is considered poor and 18% of this percentage is the ethnic minority people. People living in Maelao river basin are Karen, Akha, Lahu, and northern Thais. In general it is the mountainous area where average slope is 48.42%. Majority, 60%, of the area are deciduous and evergreen forests, whereas 35% is farming area in the lower elevation, and 5% is where people live or is used as public space. The origin of Maelao river is in the southern part of the region and then flows toward north and eventually meets Maekok river. Agricultural lands and settlements are along the sides of Maelao river bank in the lowlands, occupied by mainly northern Thais. They grow rice, practice mono-crops cultivation, grow rubber trees, and do different businesses. There are 13 minor rivers that are the branches of Maelao river, located in the upper part which is the area where ethnic minority people live. These people are mainly farmers. The main crop they grow is corn. Moreover, they grow coffee, tea, practice rotational farming, terraced rice, and integrated farming.
Water quality from water supply system of Teng district has been sampled and tested. The amount of ammonia, nitrogen, manganese, and pH level were tested and found that its quality is good. Water has low contamination substances but the amount of sediment and iron are increasing during the rainy season.
Majority of the forests are deciduous forest, mixed forest, and evergreen forest such as dry evergreen and pine forest. Many types of trees are found such as teak, padouk, Siamese sal, rang, iron wood, makha mong, etc. wildlife species found are not anymore those with large bodies, only small animals are found such as wild pigs, wild chicken, squirrels, and different types of birds. The river basin is not a large area and there are also communities scattered around in the whole area. People living there have their own natural resources management systems relate with their ancestral beliefs where they mark the watershed forest areas apart from community forests. But, this type of management run by the communities are not recognized and accepted by governmental organizations leading to the system becomes weaker and slowly disappearing. The government has been declared 12 areas according to national conserved forest act of the year 1988 as conserved forests which cover 2,169,354 rai, and 2 national parks that cover 547,250 rai. Such laws and enforcement are without any exception for communities inside those areas. In the past, the authority used the law for the enforcement and did not accept the rights of people living there so it was done without any participation of the people. This created the conflicts between people and the authority. There is also the lack of effectiveness in managing so the forests have been decreasing continuously. At the same time, people living in the forests are limited to certain development projects so their life quality is still under standard and cannot get the access equally to the helps from the government.
Maelao river basin of Chiangrai province is chosen as one of the 4 target landscapes for the project implementation in capacity building for their resilience using Adaptive Management. It is supported by the Sixth Operational Phase of the GEF Small Grants Programme in Thailand (GEF 6). Maelao river basin is chosen as the representative of the northern part of Thailand because it reflects the socio-economy and ecological context of northern Thailand
Maelao river basin in Chiangrai province has Maelao river which is one of the main rivers of Chiangrai province. It flows through 35% of the province and flows into Maekok river and eventually to Maekong river which is the important international river of Southeast Asia region.
Maelao river basin in Chiangrai province consists of diverse landscapes. There are high and steep mountains, mountains and valleys, hills and basins. There is also diversity in terms of careers people do, especially agricultural practices depending on the context of each community such as rotational farming, integrated farming, rice fields, fruit orchards, agro forest, etc. The types of forests are also diverse as well such as dry evergreen forest, pine forest, deciduous forest, and mixed forest which are all the types of forests found in the highlands in the northern part of Thailand.
Maelao river basin has its ethnicity diverse and the diverse of their livelihood. But, it is being pressured by forest management policy of the government. Moreover, climate change has been another main factor affecting people’s ability in being socio-economy and ecological resilience.
Community development implementation on capacity building for the landscape resilience using Adaptive Management under the work of GEF SGP will lead to the solid/ substantial results in socio-economy and ecological resilience in the community level. It starts from the smaller river basins belongs to and are as the branches of Maelao river basin that covers wider areas and with more population. This will be the prototype for this type of project implementation where local organizations are empowered through participation, sum up lessons learned systematically in developing appropriate and adaptive landscape strategy where the results can be expanded, in the horizontal level, to other communities in the highlands of Thailand, as well as the vertical level which is making the changes or improvement of the local, regional, or national level’s policies in order to create and maintain socio-economy and ecological landscape resilience.
Maelao river basin has its ethnicity diverse and the diverse of their livelihood. But, it is being pressured by forest management policy of the government. Moreover, climate change has been another main factor affecting people’s ability in being socio-economy and ecological resilience.
The problems for Maelao river basin landscape management in order to build up the capacity in socio-economy and ecological resilience have been gathered from interviewed people, arranged small groups discussion, and organized the workshops with communities’ representatives and with other organizations such as local administration officers and other involved governmental organizations. The summary of the problems is that natural resources in this river basin such as soil, water, and forest are being degraded. People living there depend themselves on these resources as their basic living factors. The causes of the problems are as below;
The cause relates with social issues; From conducting a study about social issues with the target groups, there are 2 components in the social structure affect the landscape management which are; 1) Groups, local organizations and the network. 2) The implementation plans of groups, local organizations, and the network. Problems and opportunities are found, as below;
Issue 1; Groups, local organizations, and the network in Maelao river basin consists of diverse groups which are activity groups depending on the people’s specific interests relate with their local economy such as bee farming group, weaving group, coffee farming and processing group, mushroom farming group, etc. These groups are commonly found in each community depending on their social contexts and the effectiveness of their economic activities. There are also other groups formed by those who want to serve their communities such as forest conservation group, women group, youth group, community forest committee, etc. These groups are established because of their culture, beliefs, or get the support from organizations from outside their communities. Moreover, there are also groups formed as networks between communities such as Akha youth network, Maetam river basin network, Maeyangmin river basin network, etc. From the study, the main problems found are;
Specific activity groups, especially those relate with their economy, are not implemented regularly and do not usually reach their economic goals because of the lack of organizations giving advises/ coach them or those organizations work with these groups do not run the activities as planned or continuously. There is the lack of capacity building on budget management. And, the members of the groups do have enough marketing knowledge and skills.
Groups and community committees working in the community level consists of those established by outside organizations such as community forest committee and community’s women group, and those who form groups out of their culture and traditions such as forest conservation committee and irrigation management committee. The problem of the first groups is the lack of activities implementation continuously mainly because of outside organizations’ effectiveness. And, the problems of the second groups mainly is that they are not accepted or supported by governmental organizations even though they are highly recognized by people in the communities. Also, groups from one community are not well accepted by other communities too.
Community networks in Maelao river basin do form themselves in managing natural resources as well as work together among ethnic groups such as Maetam river basin network, Akha youth network, minority people’s network, etc. For river basin network, even though the members are aware of the importance of having the network established but they are not strong enough in managing the network effectively because of not having enough capacity building for the leaders, not enough coaches. And, even though Inter Mountain Peoples' Education and Culture in Thailand Association (IMPECT) which is the important organization working there but still not cover all ethnic groups in the area.
10
Projects
330
Villages
120
Total area / sq km